เอเจนซี – แม้การต่อสู้กับ ปัญหาโลกร้อน จะไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก แต่รัฐบาลต่างๆ เหลือเวลาอีกเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะหลบเลี่ยงสภาวะ อุณหภูมิ เพิ่มสูงอันจะก่อความเสียหายได้
ร่างรายงานขององค์การสหประชาชาติซึ่งมีกำหนดออกเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 4 พ.ค. ชี้ว่า ภาวะโลกร้อน กำลังทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งสหภาพยุโรปเห็นว่าเป็นระดับอุณหภูมิที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ “อย่างน่าอันตราย”
รายงานนี้ถือเป็นส่วนที่ 3 ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ที่ออกมาในปี 2007 เนื้อหาของรายงานส่วนนี้เน้นหนักไปที่เหตุการณ์จำลอง 2 เหตุการณ์ โดยบอกว่า การจำกัดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก อาจมีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 0.2% หรือ 0.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ทั่วโลก ในปี 2030
บางตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า มาตรการต่างๆ เป็นต้นว่า การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหิน อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกได้เล็กน้อยด้วยซ้ำไป
สำหรับสถานการณ์จำลองแบบเข้มงวดที่สุด ซึ่งรัฐบาลต่างๆจะต้องแน่ใจว่าการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ทั่วโลกจะเริ่มลดลงภายในเวลา 15 ปี จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 3% ของจีดีพีโลกภายในปี 2030
ข้อสรุปของรายงานฉบับนี้สอดคล้องกับรายงานเมื่อปีที่แล้วของนิโคลัส สเติร์น (Nicholas Stern) อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก ที่ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายในการลงมือชะลอ ภาวะโลกร้อน ในตอนนี้ อยู่ที่ประมาณ 1% ของจีดีพีโลก เทียบกับตัวเลขที่สูงถึง 5-20% ในอนาคต ถ้าพวกเรายังไม่รีบลงมือ
วิธีการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ที่ทำได้ง่าย ตามที่เสนอไว้ในร่างรายงานฉบับนี้ ได้แก่ การใช้พลังงานฟอสซิลให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้, เปลี่ยนมาใช้พลังงานรูปแบบอื่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือ พลังงานนิวเคลียร์ ตลอดจน จัดการ การ ปลูกป่า และการทำเกษตรกรรมให้ดีกว่านี้
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนอกเหนือจากการประหยัดพลังงานก็คือ สุขภาพ จะดีขึ้นเนื่องจาก มลพิษ น้อยลง, ภาค เกษตรกรรม เสียหายจาก ฝนกรด น้อยลง และมี ความมั่นคง ด้าน พลังงาน เพิ่มมากขึ้น เพราะมีการลดการนำเข้า พลังงาน
เหตุการณ์จำลองในการยอมเสียจีดีพีแค่ 0.2% ในปี 2030 เพื่อแก้ ปัญหาโลกร้อน จะรักษาระดับ ก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศในปี 2030 ให้อยู่ที่ 650 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm) ซึ่งสูงกว่าระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 430 ppm
“การประมาณแบบเจาะจงที่สุด” ชี้ให้เห็นว่า นั่นอาจทำให้ อุณหภูมิ เพิ่มสูงขึ้น 3.2-4.0 องศาเซลเซียส จากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยิ่งมีมาตรการที่รัดกุมและลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ได้มาก ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
โดยในกรณีที่มีมาตรการเข้มงวดที่สุด ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่าย 3% ของจีดีพี จะสามารถจำกัดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ลงไปอยู่ที่ 445-535 ppm ภายในปี 2030 ซึ่งน่าจะทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2-2.4 องศาเซลเซียส
ด้าน บันคีมุน เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น กล่าวกับ นสพ.ไฟแนนเชียลไทมส์ว่า ยูเอ็นกำลังพิจารณาให้จัดการประชุมระดับสูงเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภายในปีนี้ ซึ่งอาจนำไปสู่การประชุมระดับผู้นำสุดยอดได้ในปี 2009
การประชุมระดับสูง ซึ่งน่าจะมีรัฐมนตรีและผู้แทนระดับท็อปเข้าร่วม เป็น “หนทางที่ปฏิบัติได้และเป็นไปได้จริง”มากที่สุด บันกล่าว
การประชุมนี้ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใกล้ๆกับการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นิวยอร์กในเดือนกันยายน “อาจได้แนวทางปฏิบัติชัดเจนเพื่อประชุมในเดือนธันวาคมที่บาหลีก็เป็นได้” บันกล่าว ซึ่งการประชุมที่บาหลีนั้นเป็นการประชุมของยูเอ็นเกี่ยวกับเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
หากการประชุมระดับสูงในเดือน ก.ย.ประสบความสำเร็จ “จะต้องมีการพูดคุยเกี่ยวกับการประชุมระดับผู้นำสุดยอดในภายหลัง” บันกล่าวกับไฟแนนเชียลไทมส์ “อาจเป็นปี 2008 หรือ 2009”
Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000044188
To webmaster
This is a great websit for thai,that never met. Now I’m on PhD in Envir. Toxicolgy. The contents on your website are useful for me.
Thank you,
Umapron wibuloutai
That insight solves the prebolm. Thanks!