Whyworldhot.com Header Image

Archive for the ‘โฆษณาที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน’ Category

The World Wants A Real Deal

วันอังคาร, พฤษภาคม 18th, 2010

นำมาจาก บล็อกของพี่ก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน นะครับ

http://www.lonelytrees.net/?p=1651

เห็นว่า โฆษณาตัวนี้น่าสนใจมากเลยนำมาฝากเพื่อนๆกันครับ

บางที ก็น่าจะถึงเวลาเเล้วนะครับ ที่เราควรจะมาทำอะไรซักอย่างเพื่อโลกของเรากัน

เจ้าของโฆษณา: Moms Against Climate Change (Environmental Defence Canada & ForestEthics)
บริษัทโฆษณา: Advertising Agency: Zig, USA

เพื่อให้การชมโฆษณาและการอ่านออกรสออกชาติอย่างเต็มที่
แนะนำว่าควรดูคลิกดูหนังโฆษณาเรื่องนี้ก่อนครับ
(พักชมโฆษณาสักครู่)

ต่อไปนี้เป็นช่วงเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ช่วงโฆษณา
ถ้าใครพอจะตามข่าวปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่บ้าง
น่าจะพอทราบว่า ในระดับนานาชาติมีการขับเคลื่อนอย่างหนึ่งโดย
ผู้แทนจากประเทศสมาชิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change)
ได้จัดประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาโลกร้อนกันมาโดยตลอด
การประชุมนี้เรียกสั้นๆ ว่า COP (Conference Of the Parties)
ครั้งที่ดังหน่อยก็คือ COP 3 ที่โตเกียว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ ‘พิธีสารเกียวโต’
เวลาผ่านไป 14 ปี ก็ล่วงมาถึง COP 15 ที่โคเปนเฮเกน
ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ ในช่วงระหว่างวันที่ 7-18 ธันวาคมนี้
จุดที่ทำให้ COP 15 เป็นที่พูดถึงค่อนข้างมากก็คือ
ครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อไป หลังจากที่พันธกรณีแรกของพิธีสารเกียวโตจะสิ้นสุดลงในปี 2552 นี้

พิธีสารเกียวโตนั้นร่างขึ้นมาเมื่อสิบกว่าปีก่อน
ในวันที่ผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังไม่รุนแรงขนาดนี้
และผู้คนยังไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากมายทั่วโลกอย่างนี้
ข้อกำหนดต่างๆ เลยร่างขึ้นมาอย่างแบ่งรับแบ่งสู้
ถึงวันนี้ มาตรฐานในการลดการปล่อย รวมถึงความเคร่งครัดของพิธีสารเกียวโต ถูกวิจารณ์กันมากว่า
ไม่น่าจะช่วยกอบกู้โลกได้ทันท่วงที
การประชุมครั้งนี้เลยพยายามหาข้อสรุปว่า การแก้ปัญหาในระดับโลกจะเคลื่อนยังไงต่อไป

ในห้องประชุมก็ประชุมกันไป
นอกห้องประชุม ก็มีประชาชน และองค์กรต่างๆ ออกมารวมตัวกันอย่างสันติ
เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำของแต่ละประเทศที่กำลังนั่งอยู่ในห้องประชุม ช่วยหาทางแก้ปัญหาที่จริงจังหน่อย
ไม่ใช่มานั่งพูดประโยคสวยๆ ใส่กัน แล้วก็จากกันไปแบบไร้ทางออกที่นำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนอย่างครั้งที่ผ่านๆ มา
นั่นเลยนำมาซึ่งแคมเปญนี้มีชื่อว่า The World Wants a Real Deal
จัดกันทั่วโลกโดยองค์กรสิ่งแวดล้อมทั้งใหญ่ทั้งเลข ตัวเลขล่าสุด มีการจัดกิจกรรมชวนคนที่คิดเห็นตรงกันมารวมตัวกัน
2,723 แห่ง ใน 136 ประเทศ
ประเทศไทยของเราก็มีครับ
จัดโดย มูลนิธิโลกสีเขียว, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
และเครือข่ายชาวกรุงเทพฯ ผู้ห่วงใยภาวะโลกร้อน
งานมีวันที่ 12 ธันวาคม 2552 เวลา 16.00-17.00 น. ที่ลานคนเมือง หน้าเสาชิงช้า
ทีมงานแจ้งว่า ถ้าเดินทาง และร่วมงานอย่างประหยัดพลังงานได้ทุกคน จะดีมากๆ

ผมเชื่อว่า หลายคนคงมีคำถามกับกิจกรรมแนวนี้ว่า ทำเพื่ออะไร
การนัดมารวมตัวกันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ผมก็ไม่ทราบครับว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่อย่างน้อยที่สุด ก็แสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนในเชิงนโยบาย
แค่มารวมตัวกันเพื่อบอกสิ่งที่อยากบอก กับผู้ที่ควรได้รับทราบ
ปัญหานี้มีตัวตน
และผู้ที่อยากให้แก้ปัญหาก็มีตัวตน

กลับมาที่งานโฆษณาของ Moms Against Climate Change
ผมชอบประโยคสุดท้าย ซึ่งเล่าถึงที่มาว่าทำไมเด็กเหล่านี้ถึงมารวมตัวกันประท้วง
If our children knew ‘the fact’ we do, they’d take action.
Shouldn’t you?

รีบแก้ในสิ่งที่เราทำ
หรือจะรอให้คนที่ไม่ได้ทำลุกขึ้นมาแก้?


ใช้สมองมองโลก

วันอังคาร, พฤษภาคม 18th, 2010

ไปเจอโปสเตอร์โฆษณาตัวหนึงมา

ถ้าดูๆไปเเล้ว โปสเตอร์ ก็เป็น โปสเตอร์ รณรงส์ภาวะโลกร้อนธรรมดา

ไม่ได้มีอะไรสะดุดตา

เเต่ผมกลับไปสะดุด กลับคำเเปลที่ พี่ก้อง ทรงกลด เขียน

ก็เลยอยากนำมาให้เพื่อนๆอ่านกันครับ

http://www.lonelytrees.net/?p=429

พออ่านจบเเล้ว ผมก็ได้ข้อคิดมาว่า

บางทีปัญหา เราก็มักจะเเก้โดยใช้ วิธีวัวหายล้อมคอก

โดยไม่ได้หาต้นเหตุของปัญหา

ข้อความ: “Climate change starts here.”
บริษัทโฆษณา:  imagine’ Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์

โฆษณาชิ้นนี้พูดในสิ่งที่ผมคิดและเชื่อมาทั้งชีวิต
นั่นก็คือเรื่อง ทัศนคติ ของคน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมถูกถามถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด
หรือถามถึงทางแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผมอยากแก้เป็นอันดับแรก
ผมไม่ลังเลที่จะตอบว่า ผมสนใจเรื่องทัศนคติของคนมากกว่าเรื่องอื่น
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาโลกร้อนนั้นสลับซับซ้อน
ต่อให้เราปรับเปลี่ยนนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย
แต่เรายังไม่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา
ยังไม่มองมันเป็นปัญหาที่เกิดจากมือเรา และเราต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ยังไงปัญหานี้ก็ไม่มีทางแก้ได้

แต่กลับกัน ถ้าทุกคนตระหนักรู้ว่า มันคือปัญหาสำคัญที่เราทุกคนสมควรร่วมกันแก้
แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายสักฉบับออกมาบังคับใช้
ผมก็เชื่อว่าปัญหานี้น่าจะแก้ไขได้

ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรามักจะพูดถึงประโยคหนึ่งกันอยู่บ่อยๆ
นั่นก็คือ
It’s not in my backyard.
มันไม่ได้อยู่ในสนามหลังบ้านฉัน
โลกนอกรั้วบ้านไม่ใช่โลกของเรา เราไม่มีส่วนรับผิดชอบกับมัน
โดยที่เราลืมไปเสียสนิทว่า โลกใบนี้มีใบเดียว
ท่อน้ำทิ้งที่ต่อให้เลยเขตรั้วบ้านออกไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องรับผิดชอบ
เราเปิดแอร์เย็นฉ่ำอยู่ในบ้าน ในขณะที่คอมเพรสเซอร์แอร์เป่าลมร้อนผ่าวใส่คนเดินถนน หรือคนข้างบ้าน
เราสุขสบายกับความเย็น และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบกับความร้อนที่เราก่อ
ทัศนคติแบบนี้แหละครับที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลง

ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นจากทัศนคติของคนที่เห็นแก่ความสบายของตัวเองเป็นหลัก
ไล่มาตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้ว
มาถึงโรงงานยุคปัจจุบันในประเทศโลกที่สาม
และไลฟ์สไตล์ละลายทรัพยากรและพลังงานของคนทั่วโลก
ถ้าปัญหามันเริ่มต้นจากทัศนคติ
เราก็ควรจะแก้กันที่ตรงนั้น

ถุงผ้าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาโลกร้อน
การปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการใช้ทรัพยาการของคนต่างหาก
ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

เครดิต-คุณ ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ aday