Whyworldhot.com Header Image

IPCC เปิดรายงานโลกร้อนฉบับ 3 ในไทย

นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.- 4 พ.ค.นี้ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ว่า การประชุมดังกล่าวจะมีนักวิทยาศาสตร์ และผู้แทนรัฐบาลจาก 189 ประเทศ ทั่วโลกจำนวน 2,000 คนเข้าประชุมทางด้านวิชา การ ซึ่งการจัดในไทยเป็นครั้งที่ 3 โดยเนื้อหารายงานวิจัยจะว่าด้วยการทบทวนสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคต และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะสรุปผลการ ประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงคงต้องข้อสรุปจากรายงานฉบับนี้ก่อน ว่าจะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่ จึงจะบอกได้ว่าประเทศไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร

วันเดียวกัน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉียงใต้กล่าวในเวทีสื่อไทยเท่าทันภาวะโลก ร้อนว่าปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ ทะเลสูงขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ระดับน้ำทะเล ในอันดามันสูงประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลอ่าวไทยสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งการ เพิ่มขึ้นดังกล่าวตามหลักทฤษฎีเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม จะทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลทั้งสองบริเวณอีกครั้ง โดยใช้เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของพื้นโลก เพื่อศึกษาว่าแผ่น ดิน ที่ตรวจเกิดการทรุดตัวหรือไม่คาดว่าภายใน 1 ปี จะสามารถยืนยันความถูกต้องของระดับน้ำทะเล ได้

ดร.อานนท์ กล่าวถึง การเกิดฝนลูกเห็บบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศว่า คนเข้าใจว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน ซึ่งหากพิจาณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้อง แต่ไม่โดยตรงเพราะฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อน ที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับ มวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาเป็นฝนลูกเห็บ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีจึงจะ สรุปได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ กรุงเทพฯมีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน เพราะช่วงนี้พายุฤดูร้อน เข้ามาภาคกลาง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่า ช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ
From: http://www.efe.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=505&Itemid=43

6 Responses to “IPCC เปิดรายงานโลกร้อนฉบับ 3 ในไทย”

  1. แจ๊คครับ พูดว่า:

    การแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่แค่คิดจะทำ แต่ต้องลงมือทำจริง
    ปัจจุบันคนไทยที่ตื่นตัวเรื่องนี้ยังมีอยู่น้อย ร่วมกันเผยแพร่ความรู้เรื่องภาวะโลกร้อน ด้วยการ Link มาหาเว็บเราครับ
    (โดยหากคุณต้องการให้ Link กลับไปสามารถติดต่อได้ตาม E-mail ด้านบนครับ)

  2. kunchy พูดว่า:

    หยุดทำลายโลร้อน แล้วหันมาร่วมมือกันหยุดปัญหาโลกร้อยกันดีกว่า

  3. […] IPCC เปิดรายงาน โลกร้อน ฉบับ 3 ในไทย […]

  4. รักษ์ชาติ พูดว่า:

    แม่บ้านสู้โลกร้อน ผมทำมานานนับ10ปีแล้ว หลักการคือ”สร้างไอน้ำให้อากาศ” โดยใช้น้ำซักผ้า180ลิตร/สัปดาห์/ครั้ง. นำมาสาดบางๆๆบนพื้นร้อนๆตอนบ่าย3-4รอบ ให้ระเหยเป็ยไอน้ำให้บรรยากาศทดแทนป่าไม้ได้สบายๆหรือรดต้นไม้หรือสาดกำแพงได้แอร์เย็นๆเหตุผลคือ การระเหยของน้ำจะดูดความร้อนๆจะหายไปเรื่อยๆเหลือความเย็นให้รอบบ้านเรา นี่คือการนำน้ำเสีย(น้ำซักผ้า)มาให้คุณค่าแก่โลกเรา 2.การสเปรส์น้ำใส่คอยส์ร้อนแอร์ขณะทำงานความร้อนของรังผึ่งแอร์ทำให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำได้ เราจะได้ 2 อย่างคือ ลมเย็น-10 องศาจากอากาศตรงนั้น เช่น 40องศา-10 จะได้ลมเย็ยๆๆที่ 30 องศา/ระบบแอร์ก็เย็นขึ้นด้วย

  5. thai bar พูดว่า:

    Very nice information. Im heading to bangkok shortly and want to know how to get my way around. Any advice or maps?

  6. คนรักษ์โลก พูดว่า:

    อยากให้โรงสี และสถานที่ที่มีหลังคากว้าง ร่วมกันรณรงค์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ ทดแทนพลังงานไฟฟ้า หรือสถานที่ราชการ เป็นตัวอย่างนำร่อง ก็จะดีมากเลย

    โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานจากการเผาแกลบ หรือการเผาผลาญเชื้อเพลิงอื่นๆ ควรลดจำนวนการเผา และหันมาใช้พลังงานสะอาดบ้าง เพื่อลดมลพิษในอากาศ

    ร่วมมือร่วมใจกันเพื่อโลกของเราเถอะนะ ทำเลยนะ ตั้งแต่วันนี้เลย เพื่อลูกหลานพวกเรา …

Leave a Reply