เจ้าของโฆษณา: Moms Against Climate Change (Environmental Defence Canada & ForestEthics)
บริษัทโฆษณา: Advertising Agency: Zig, USA
เพื่อให้การชมโฆษณาและการอ่านออกรสออกชาติอย่างเต็มที่
แนะนำว่าควรดูคลิกดูหนังโฆษณาเรื่องนี้ก่อนครับ
(พักชมโฆษณาสักครู่)
ต่อไปนี้เป็นช่วงเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ช่วงโฆษณา
ถ้าใครพอจะตามข่าวปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่บ้าง
น่าจะพอทราบว่า ในระดับนานาชาติมีการขับเคลื่อนอย่างหนึ่งโดย
ผู้แทนจากประเทศสมาชิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change)
ได้จัดประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาโลกร้อนกันมาโดยตลอด
การประชุมนี้เรียกสั้นๆ ว่า COP (Conference Of the Parties)
ครั้งที่ดังหน่อยก็คือ COP 3 ที่โตเกียว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ ‘พิธีสารเกียวโต’
เวลาผ่านไป 14 ปี ก็ล่วงมาถึง COP 15 ที่โคเปนเฮเกน
ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ ในช่วงระหว่างวันที่ 7-18 ธันวาคมนี้
จุดที่ทำให้ COP 15 เป็นที่พูดถึงค่อนข้างมากก็คือ
ครั้งนี้จะเป็นการตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อไป หลังจากที่พันธกรณีแรกของพิธีสารเกียวโตจะสิ้นสุดลงในปี 2552 นี้
พิธีสารเกียวโตนั้นร่างขึ้นมาเมื่อสิบกว่าปีก่อน
ในวันที่ผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังไม่รุนแรงขนาดนี้
และผู้คนยังไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากมายทั่วโลกอย่างนี้
ข้อกำหนดต่างๆ เลยร่างขึ้นมาอย่างแบ่งรับแบ่งสู้
ถึงวันนี้ มาตรฐานในการลดการปล่อย รวมถึงความเคร่งครัดของพิธีสารเกียวโต ถูกวิจารณ์กันมากว่า
ไม่น่าจะช่วยกอบกู้โลกได้ทันท่วงที
การประชุมครั้งนี้เลยพยายามหาข้อสรุปว่า การแก้ปัญหาในระดับโลกจะเคลื่อนยังไงต่อไป
ในห้องประชุมก็ประชุมกันไป
นอกห้องประชุม ก็มีประชาชน และองค์กรต่างๆ ออกมารวมตัวกันอย่างสันติ
เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำของแต่ละประเทศที่กำลังนั่งอยู่ในห้องประชุม ช่วยหาทางแก้ปัญหาที่จริงจังหน่อย
ไม่ใช่มานั่งพูดประโยคสวยๆ ใส่กัน แล้วก็จากกันไปแบบไร้ทางออกที่นำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนอย่างครั้งที่ผ่านๆ มา
นั่นเลยนำมาซึ่งแคมเปญนี้มีชื่อว่า The World Wants a Real Deal
จัดกันทั่วโลกโดยองค์กรสิ่งแวดล้อมทั้งใหญ่ทั้งเลข ตัวเลขล่าสุด มีการจัดกิจกรรมชวนคนที่คิดเห็นตรงกันมารวมตัวกัน
2,723 แห่ง ใน 136 ประเทศ
ประเทศไทยของเราก็มีครับ
จัดโดย มูลนิธิโลกสีเขียว, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
และเครือข่ายชาวกรุงเทพฯ ผู้ห่วงใยภาวะโลกร้อน
งานมีวันที่ 12 ธันวาคม 2552 เวลา 16.00-17.00 น. ที่ลานคนเมือง หน้าเสาชิงช้า
ทีมงานแจ้งว่า ถ้าเดินทาง และร่วมงานอย่างประหยัดพลังงานได้ทุกคน จะดีมากๆ
ผมเชื่อว่า หลายคนคงมีคำถามกับกิจกรรมแนวนี้ว่า ทำเพื่ออะไร
การนัดมารวมตัวกันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ผมก็ไม่ทราบครับว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่อย่างน้อยที่สุด ก็แสดงให้เห็นว่า คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนในเชิงนโยบาย
แค่มารวมตัวกันเพื่อบอกสิ่งที่อยากบอก กับผู้ที่ควรได้รับทราบ
ปัญหานี้มีตัวตน
และผู้ที่อยากให้แก้ปัญหาก็มีตัวตน
กลับมาที่งานโฆษณาของ Moms Against Climate Change
ผมชอบประโยคสุดท้าย ซึ่งเล่าถึงที่มาว่าทำไมเด็กเหล่านี้ถึงมารวมตัวกันประท้วง
If our children knew ‘the fact’ we do, they’d take action.
Shouldn’t you?
รีบแก้ในสิ่งที่เราทำ
หรือจะรอให้คนที่ไม่ได้ทำลุกขึ้นมาแก้?
ไปเจอโปสเตอร์โฆษณาตัวหนึงมา
ถ้าดูๆไปเเล้ว โปสเตอร์ ก็เป็น โปสเตอร์ รณรงส์ภาวะโลกร้อนธรรมดา
ไม่ได้มีอะไรสะดุดตา
เเต่ผมกลับไปสะดุด กลับคำเเปลที่ พี่ก้อง ทรงกลด เขียน
ก็เลยอยากนำมาให้เพื่อนๆอ่านกันครับ
http://www.lonelytrees.net/?p=429
พออ่านจบเเล้ว ผมก็ได้ข้อคิดมาว่า
บางทีปัญหา เราก็มักจะเเก้โดยใช้ วิธีวัวหายล้อมคอก
โดยไม่ได้หาต้นเหตุของปัญหา
ข้อความ: “Climate change starts here.”
บริษัทโฆษณา: imagine’ Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์
โฆษณาชิ้นนี้พูดในสิ่งที่ผมคิดและเชื่อมาทั้งชีวิต
นั่นก็คือเรื่อง ทัศนคติ ของคน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ผมถูกถามถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด
หรือถามถึงทางแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผมอยากแก้เป็นอันดับแรก
ผมไม่ลังเลที่จะตอบว่า ผมสนใจเรื่องทัศนคติของคนมากกว่าเรื่องอื่น
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาโลกร้อนนั้นสลับซับซ้อน
ต่อให้เราปรับเปลี่ยนนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย
แต่เรายังไม่เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา
ยังไม่มองมันเป็นปัญหาที่เกิดจากมือเรา และเราต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ยังไงปัญหานี้ก็ไม่มีทางแก้ได้
แต่กลับกัน ถ้าทุกคนตระหนักรู้ว่า มันคือปัญหาสำคัญที่เราทุกคนสมควรร่วมกันแก้
แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายสักฉบับออกมาบังคับใช้
ผมก็เชื่อว่าปัญหานี้น่าจะแก้ไขได้
ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรามักจะพูดถึงประโยคหนึ่งกันอยู่บ่อยๆ
นั่นก็คือ
It’s not in my backyard.
มันไม่ได้อยู่ในสนามหลังบ้านฉัน
โลกนอกรั้วบ้านไม่ใช่โลกของเรา เราไม่มีส่วนรับผิดชอบกับมัน
โดยที่เราลืมไปเสียสนิทว่า โลกใบนี้มีใบเดียว
ท่อน้ำทิ้งที่ต่อให้เลยเขตรั้วบ้านออกไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องรับผิดชอบ
เราเปิดแอร์เย็นฉ่ำอยู่ในบ้าน ในขณะที่คอมเพรสเซอร์แอร์เป่าลมร้อนผ่าวใส่คนเดินถนน หรือคนข้างบ้าน
เราสุขสบายกับความเย็น และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบกับความร้อนที่เราก่อ
ทัศนคติแบบนี้แหละครับที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลง
ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นจากทัศนคติของคนที่เห็นแก่ความสบายของตัวเองเป็นหลัก
ไล่มาตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้ว
มาถึงโรงงานยุคปัจจุบันในประเทศโลกที่สาม
และไลฟ์สไตล์ละลายทรัพยากรและพลังงานของคนทั่วโลก
ถ้าปัญหามันเริ่มต้นจากทัศนคติ
เราก็ควรจะแก้กันที่ตรงนั้น
ถุงผ้าไม่ใช่ทางแก้ปัญหาโลกร้อน
การปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการใช้ทรัพยาการของคนต่างหาก
ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ
เครดิต-คุณ ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ aday
]]>หากมีความเห็นเกี่ยวกับหน้าตาใหม่นี้สามารถส่งความเห็นมาได้เลยนะครับ
]]>ในวันสิ่งแวดล้อมโลก เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.51 ที่ผ่านมานั้น ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมฟังวงเสวนา “ถึงเวลาที่เมืองไทยจะต้องก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” โดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเวทีเป็นคนแรกและกล่าวว่า หากวันนี้สังคมไทยยังไม่ทำอะไรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อไปเราจะอยู่กันอย่างลำบากมาก โดยเฉพาะการเกษตรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมถึงทรัพยากรชายฝั่งที่ถูกทำลาย และการเกิดโรคใหม่ๆ ที่ร้ายแรง
ทั้งนี้ เพื่อการรับมือกับปัญหาอย่างยั่งยืน ควรมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาตั้งแต่วันนี้ เพราะหาไม่แล้ว 4 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะกลับมาล้าหลังอีกครั้ง ซ้ำรอยที่ 6 ปีที่แล้วที่ไม่มีการเตรียมพร้อมเลย ทำให้วันนี้ไทยต้องเจอกับปัญหา
ขณะเดียวกัน ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เสนอว่า นอกเหนือจากปัจจุบันที่มีการจัดทำสินค้าฉลากเขียวแล้ว ต่อไปประเทศไทยควรกำหนดให้สินค้าต้องติดฉลากคาร์บอนด้วย โดยตัวฉลากจะบอกผู้บริโภคถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิต เพื่อให้เกิดการเลือกใช้ ทำให้สินค้าที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมล้มตายไปเอง
เขาเผยอีกว่า อยากให้ภาครัฐมีการทบทวนนโยบายการปลูกพืชพลังงานด้วย เพราะทราบมาว่ามีนโยบายโค่นป่ายางในภาคใต้เพื่อหลีกทางให้การปลูกปาล์มน้ำมัน แล้วส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทน ขณะที่ผลการศึกษาจากองค์การสวนยางพบว่า รากของยางป่ายึดหน้าดินไว้ไม่ให้พังทลาย เหมือนพื้นที่ที่แปรรูปเป็นนากุ้ง
“ผมไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ เพราะการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจะมีผลกระทบประการใด และหากพื้นที่ปลูกเดิมไม่ยอมหลีกทางให้ อาจทำให้เกิดการแผ้วถางป่า และมีผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพตามมาหรือไม่” ศ.ดร.สนิทกล่าว
ต่อมา ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” ว่า ปัจจุบันคนไทยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประมาณ 4.8 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
แต่เพื่อลดสภาวะวิกฤติเมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสในอีก 30-40 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะต้องลดปริมาณดังกล่าวในอัตราคนละ 3.5 ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 850 ต้น
ดร.ศักดิ์กล่าวอีกว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจึงต้องการส่งเสริม ให้ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำโดยไว แม้ปัจจุบันไทยยังไม่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เหมือนประเทศพัฒนาแล้ว ทว่าก็เป็นการแสดงศักยภาพ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทั้งหมด โดยการขอความร่วมมือให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใส่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวัน ที่พลอยเป็นอานิสงค์แก่ชนรุ่นหลังด้วย
สำหรับการเสวนาวิชาการทั้ง 2 หัวข้อมีขึ้นในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 51 จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง 5-8 มิ.ย.51 ณ ห้องคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ อิมแพค เมืองทองธานี
Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000066099
]]>ในเว็บไซต์ของ Google ประเทศไทยกล่าวว่า
“ในวันนี้ผู้ใช้ Google ในประเทศไทยจะเห็นว่าเรา “ปิดไฟ” ที่หน้าโฮมเพจ Google.co.th เพื่อสร้างการรับรู้ถึงโครงการร่วมประหยัดพลังงานทั่วโลกซึ่งมีชื่อว่า Earth Hour
วัน เสาร์ที่ 29 มีนาคม 2008 นี้ Earth Hour ขอเชิญชวนทุกคนในโลกนี้ปิดไฟเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ 20.00? 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศของตน ในวันนี้ เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น โคเปนเฮเกน ชิคาโก้ เมลเบิร์น ดูไบ และ เทลอาวิฟ จะจัดงานเพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการประหยัดพลังงานของตน
เนื่อง จากบริษัทของเรามีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยสร้างความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและการ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงสนับสนุนแคมเปญ Earth Hour อย่างเต็มที่ และได้ปิดไฟที่โฮมเพจของเราวันนี้เพื่อช่วยสร้างกระแสการรับรู้ให้กับงานที่ เราหวังว่าจะประสบความสำเร็จไปทั่วโลก
ทำไม Google จึงเลือกสนับสนุนองค์กรนี้
เราเชื่อมั่นว่าเราต้องทำหน้าที่เพื่อร่วมต่อสู้กับภาวะโลกร้อน และพบว่า Earth Hour เป็นโครงการที่สำคัญและทันสถานการณ์ นอกจากนี้ เรายังคิดว่าไอเดียในการ ?ปิดไฟ? เป็นสิ่งที่ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมได้ สั้นๆ ก็คือ เราชอบ ก็เลยทำอะไรสักอย่างขึ้นมา
ทำไม Google จึงไม่เปลี่ยนหน้าโฮมเพจเป็นสีดำตลอดไป
เรามุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนโดยกระตุ้นให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่หลักฐานที่เรามีอยู่ปัจจุบัน (http://googleblog.blogspot.com/2007/08/is-black-new-green.html) แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนพื้นหลังให้เป็นสีดำอย่างถาวรนั้นไม่เป็นประโยชน์ ต่อสิ่งแวดล้อมหรือต่อผุ้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม เราพยายามมองหาวิธีที่จะปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ให้ดีขึ้นอยู่ เสมอ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการวิจัยค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เราก็อาจจะเปลี่ยนใจในเรื่องนี้
ฉันจะทำอย่างไรเพื่อให้ Google ทำแบบนี้กับองค์กรหรือโครงการของฉันบ้าง
เรายินดีต้อนรับไอเดียต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีที่เราจะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น แม้ว่าเราจะไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะแสดงบนหน้าโฮมเพจ Google หรือตอบสนองทุกคำค้นหา แต่เราอ่านอีเมลทุกฉบับที่ได้รับและอยากฟังความเห็นจากคุณว่าเราควรร่วมมือ กับองค์กรใดบ้าง หากต้องการส่งข้อเสนอมาให้เรา กรุณาส่งมาที่ [email protected]
”
จาก http://www.google.co.th/intl/th_th/earthhour/
โดยนายอภิรักษ์ กล่าวว่า กทม.ในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทย มีประชากรอยู่ 10 กว่า ล้านคน ซึ่งมีการใช้พลังงานค่อนข้างมาก ไม่น้อยไปกว่าเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ดังนั้น กทม.จึงได้ร่วมกับ WWF และเครือข่ายพันธมิตรร่วมกันรณรงค์ลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยในปีนี้ กทม. และเมืองใหญ่ อีก 23 แห่งทั่วโลก ได้แก่ ซิดนีย์ เพิทธ์ เมลเบินน์ แคนเบอร่า บริสเบน อดาเลด โคเปนเฮเก้น อาฮุส อาเบิก โอเดนส์ มะนิลา ซูวา ชิคาโก เทลอาวีฟ โตรอนโต ไครส์เซิซ แอลแลนต้า ซานฟรานซิสโก ฟีนิกซ์ ออตตาวา แวนคูเวอร์ มอนทรีออล และดับบลิน จะร่วมกันปิดไฟ ในวันเสาร์ที 29 มี.ค.นี้ เวลา 20.00-21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง ทั้งนี้ กทม.กำหนดจัดกิจกรรมที่บริเวณลานเอนกประสงค์ห้าง Central World ถ.ราชประสงค์
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ กทม. ยังจะรณรงค์ให้ประชาชนเจ้าของอาคาร บ้านพักกลุ่มธุรกิจ สถานที่ราชการ ร่วมกันดับไฟเฉพาะดวงที่ไม่จำเป็นบนถนน 8 สาย ประกอบด้วย เพชรบุรี เยาวราช รัชดาภิเษก ข้าวสาร ราชดำริ ราชดำเนิน สุขุมวิท และสีลม ส่วนไฟถนนเส้นหลักจะยังคงเปิด ตามปกติเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งนี้จะจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและเทศกิจคอยดูแลเรื่องความปลอดภัย
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสดการจัดกิจกรรมดังกล่าวไปยังทั่วประเทศ ซึ่งภายหลังปิดไฟแล้ว กทม.จะประกาศการลดปริมาณการใช้พลังงานที่ กทม.ทำได้ ซึ่งครั้งนี้ กทม.ตั้ง เป้าลดการใช้พลังงานจากการปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งเป็นปริมาณการลดใช้ พลังงานจากการรณรงค์ปิดไฟ 15 นาที ที่ กทม.ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ปีที่แล้ว
จาก : http://www.innnews.co.th/social.php?nid=92925
]]>ชั้น Permafrost คือส่วนของดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งนานกว่า 2 ปีต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นตัวกันไม่ให้ต้นไม้หยั่งรากลึกลงไปกว่านี้ เมื่อชั้นนี้ละลาย
ต้นไม้จึงไม่มีที่ยึดเกาะ ต้นไม้อาจตายจากสภาพนี้ แต่บางส่วนอาจกลับไปตั้งตรงได้ใหม่ และเจริญเติบโตต่อได้
ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ทีเดียว เพราะเคยเกิดขึ้นระหว่างช่วงหลัง Little Ice Age นั่นคือราวศตวรรษที่ 16-17
อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนว่า การเกิดต้นไม้เมา มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน แต่ปัจจุบันได้พบต้นไม้เมามากขึ้นเรื่อยๆ
ต้นไม้เมาในแถบไซบีเรีย ภาพโดย NASA
พิธีสารเกียวโต คือข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะให้ความร่วมมือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตหลักของภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงประเทศเดียว ที่ไม่ลงนามในพิธีสารนี้
ภาพ Greg Wood/AFP
http://news.nationalgeographic.com/news/2007/12/071203-AP-aus-kyoto.html
]]>เอเอฟพี / เอพี ? เหล่าผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมการประชุมโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุด โดยยูเอ็นโต้โผใหญ่หวังเกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2552
ผู้ร่วมประชุมจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนตอนนี้ กำลังรวมตัวอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพวกเขาจะตั้งหลักอยู่นั่นถึง 11 วัน เพื่อร่วมการประชุมสหประชาชาติภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค.50
การประชุมที่บาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปสุดยอดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ก็จะมีการเปิดเผยกันในที่ประชุมแห่งนี้ พร้อมกับผลสรุปที่ว่าโลกเรามีเทคโนโลยีดีพอที่จะชะลอสภาวะโลกร้อน (global warming) แต่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วน
จุดหมายที่เร่งด่วนจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือการเจรจาต่อรอเพื่อตั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นแทนที่พีธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2555 โดยจะต้องกำหนดวาระและเส้นตาย ซึ่งสหประชาชาติเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวจะต้องสรุปให้ได้ภายในปี 2552 จึงจะใช้งานต่อเนื่องจากพิธีสารเกียวโตได้ทันการณ์
อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาก็เป็นชาติที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเช่นเคย และการปฏิเสธเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตของพญาอินทรี อาจทำให้ถูกตัดออกจากการเจรจาสัญญาต่อจากนี้ ซึ่งอเมริกายังคงอ้างเช่นเดิมว่าการลดปริมาณการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกตามข้อตกลงในพิธีสารนั้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งคำถามต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอปรากฏการณ์โลกร้อน
ทั้งนี้ หัวข้อถกเถียงส่วนใหญ่คือประเด็นการลดการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกจะมากน้อยเท่าใดนั้นควรมีมาตรการบังคับ (อย่างในพิธีสาร) หรือตามความสมัครใจ (อย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ) และควรจะหมายรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างจีน อินเดีย และบราซิล รวมเข้าไปด้วย อีกทั้งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือประเทศยากจนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้
ข้อมูลจากรายงานของไอพีพีซี ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก แนะนำว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนจนก่อสภาวะเรือนกระจกจะต้องมีการปลดปล่อยในปริมาณที่เสถียรภายในปี 2558 และจากนั้นหากลดลงไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่ร้ายแรง
การแก้ปัญหาที่ทำได้ในขณะนี้ตามข้อแนะนำของไอพีซีซีคือ ลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ (ซึ่งมากถึง 1 ใน 3) และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
ทว่าทั้งหมดนี้ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของแต่ละประเทศเข้าช่วย
ตลอดระยะเวลาแห่งการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่จะต่อรองความร่วมมือต่างๆ ตรงกันข้ามกับพิธีสารตลอดมา ทั้งๆ ที่ยูเอ็นต้องการให้พญาอินทรีให้ความร่วมมือ และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นวงใหญ่เมื่อดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลของออสเตรเลียที่มีนายจอห์น โฮเวิร์ดเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องโดดเดี่ยว เพราะเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย ที่เพิ่งสาบานตนรับตำแหน่งไปไม่กี่วัน นอกจากจะประกาศแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตแล้ว ในวันแรกของการประชุมที่บาหลี ผู้แทนของออสเตรเลียได้ลงนามในพิธีสารเป็นที่เรียบร้อย
พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศที่ลงนามมากว่า 10 ปี โดยเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรม 36 ชาติลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซก่อเรือนกระจกอื่นๆ ที่มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรรมและการคมนาคมให้ได้ภายในปี 2555 โดยเฉลี่ย 5% จากระดับในปี 2533
]]>ดร.อานนท์ กล่าวถึง การเกิดฝนลูกเห็บบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศว่า คนเข้าใจว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน ซึ่งหากพิจาณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้อง แต่ไม่โดยตรงเพราะฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อน ที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับ มวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาเป็นฝนลูกเห็บ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีจึงจะ สรุปได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ กรุงเทพฯมีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน เพราะช่วงนี้พายุฤดูร้อน เข้ามาภาคกลาง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่า ช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ
From: http://www.efe.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=505&Itemid=43