ผลลัพท์การค้นหาสำหรับ “ภาวะเรือนกระจก” – Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน รวมทั้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน และ วิธีในการแก้ไขปัญหา โลกร้อน Tue, 18 May 2010 13:34:04 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.8.24 คนนับหมื่นจากทั่วโลกร่วมกำหนดทางสู้โลกร้อนบนเกาะบาหลี https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/ https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/#comments Mon, 17 Dec 2007 11:57:09 +0000 http://www.whyworldhot.com/news/latest-ipcc-conference/ การประชุม IPCC

เอเอฟพี / เอพี ? เหล่าผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมการประชุมโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุด โดยยูเอ็นโต้โผใหญ่หวังเกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2552

ผู้ร่วมประชุมจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนตอนนี้ กำลังรวมตัวอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพวกเขาจะตั้งหลักอยู่นั่นถึง 11 วัน เพื่อร่วมการประชุมสหประชาชาติภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค.50

การประชุมที่บาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปสุดยอดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ก็จะมีการเปิดเผยกันในที่ประชุมแห่งนี้ พร้อมกับผลสรุปที่ว่าโลกเรามีเทคโนโลยีดีพอที่จะชะลอสภาวะโลกร้อน (global warming) แต่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วน

จุดหมายที่เร่งด่วนจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือการเจรจาต่อรอเพื่อตั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นแทนที่พีธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2555 โดยจะต้องกำหนดวาระและเส้นตาย ซึ่งสหประชาชาติเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวจะต้องสรุปให้ได้ภายในปี 2552 จึงจะใช้งานต่อเนื่องจากพิธีสารเกียวโตได้ทันการณ์

อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาก็เป็นชาติที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเช่นเคย และการปฏิเสธเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตของพญาอินทรี อาจทำให้ถูกตัดออกจากการเจรจาสัญญาต่อจากนี้ ซึ่งอเมริกายังคงอ้างเช่นเดิมว่าการลดปริมาณการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกตามข้อตกลงในพิธีสารนั้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งคำถามต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอปรากฏการณ์โลกร้อน

ทั้งนี้ หัวข้อถกเถียงส่วนใหญ่คือประเด็นการลดการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกจะมากน้อยเท่าใดนั้นควรมีมาตรการบังคับ (อย่างในพิธีสาร) หรือตามความสมัครใจ (อย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ) และควรจะหมายรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างจีน อินเดีย และบราซิล รวมเข้าไปด้วย อีกทั้งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือประเทศยากจนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้

ข้อมูลจากรายงานของไอพีพีซี ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก แนะนำว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนจนก่อสภาวะเรือนกระจกจะต้องมีการปลดปล่อยในปริมาณที่เสถียรภายในปี 2558 และจากนั้นหากลดลงไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่ร้ายแรง

การแก้ปัญหาที่ทำได้ในขณะนี้ตามข้อแนะนำของไอพีซีซีคือ ลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ (ซึ่งมากถึง 1 ใน 3) และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ทว่าทั้งหมดนี้ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของแต่ละประเทศเข้าช่วย

ตลอดระยะเวลาแห่งการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่จะต่อรองความร่วมมือต่างๆ ตรงกันข้ามกับพิธีสารตลอดมา ทั้งๆ ที่ยูเอ็นต้องการให้พญาอินทรีให้ความร่วมมือ และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นวงใหญ่เมื่อดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลของออสเตรเลียที่มีนายจอห์น โฮเวิร์ดเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องโดดเดี่ยว เพราะเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย ที่เพิ่งสาบานตนรับตำแหน่งไปไม่กี่วัน นอกจากจะประกาศแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตแล้ว ในวันแรกของการประชุมที่บาหลี ผู้แทนของออสเตรเลียได้ลงนามในพิธีสารเป็นที่เรียบร้อย

พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศที่ลงนามมากว่า 10 ปี โดยเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรม 36 ชาติลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซก่อเรือนกระจกอื่นๆ ที่มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรรมและการคมนาคมให้ได้ภายในปี 2555 โดยเฉลี่ย 5% จากระดับในปี 2533

Credit

]]>
https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/feed/ 11
วิกฤตพลังงาน-โลกร้อน-คุ้มทุน-ปลอดภัย : เหตุผลที่ไทยต้องสร้าง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ? https://www.whyworldhot.com/news/nuclear-reaction-in-thailand/ https://www.whyworldhot.com/news/nuclear-reaction-in-thailand/#comments Sat, 22 Sep 2007 13:14:33 +0000 http://www.whyworldhot.com/news/nuclear-reaction-in-thailand/ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
กระแสการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อแก้วิกฤติพลังงาน กำลังเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงกันหนาหูมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จนเมื่อเร็วๆ นี้ 2 ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตลอดจนกระทรวงพลังงาน ซึ่งมาร่วมรายการ ?รู้ทัน…ประเทศไทย? ของ ?เอเอสทีวี? ก็ออกมาย้ำชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และมั่นใจได้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นทางออกของวิกฤติพลังงานได้แบบอุ่นใจอย่างแน่นอน

ดร.กอปร กฤตยากีรณ ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์แล้เทคโนโลยี และประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กล่าวถึงภาพลักษณ์ในเชิงอาวุธทำลายร้ายสูงของนิวเคลียร์ซึ่งยังติดอยู่ในใจของคนไทยว่า แม้การทำระเบิดปรมาณู และการผลิตกระแสไฟฟ้าต่างใช้ธาตุกัมมันตภาพรังสีคือ ?ยูเรเนียม? เป็นเชื้อเพลิงเช่นเดียวกันจริง ทว่าความจริงแล้วกลับมีความเข้มข้นของสารต่างกันมาก

?การใช้ในเชิงพลังงานไม่ได้นำธาตุยูเรเนียมมาวางใกล้ๆ กันมาก จนทำให้เกิดการระเบิดได้ แต่เพื่อให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคยูเรเนียม และคายความร้อนออกมาต้มน้ำให้เดือดและได้ไอน้ำไปปั่นกระแสไฟฟ้าตามหลักการของโรงไฟฟ้าทั่วๆ ไปเท่านั้น? ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว

ดร.กอปร อ้างสถิติด้วยว่า ในต่างประเทศมีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีมีวิวัฒนาการและระบบความปลอดภัยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเรียกว่ามีความปลอดภัยมากที่สุดก็ว่าได้ โดยพบอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงจริงๆ เพียง 2 ครั้งเท่านั้นคือ ที่เชอร์โนบิลของสหภาพโซเวียต และเกาะทรีไมล์ไอส์แลนด์ของสหรัฐอเมริกา อันทำให้เกิดผู้เสียชีวิตเพียงหลักร้อยคนเท่านั้น

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต่างก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้นแล้ว อาทิ เครื่องบิน และรถยนต์ จะพบได้ว่าต่างมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก

?เทคโนโลยีใหม่ๆ ตอนนี้มีการพูดกันแล้วว่า หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น แค่เพียงวิศวกรโยกสวิตซ์แค่ตัวเดียวก็เดินออกมาจากโรงงานได้เลย เพราะมันจะปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ ไม่มีการหลอมละลายหรือการระเบิดตามมา? ดร.กอปร กล่าว และก็ยอมรับว่ามีขอบเขตของผลกระทบจะครอบคุลมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างหากเกิดการรั่วไหลจริง

?หากมีการรั่วไหลขึ้นมาย่อมส่งผลถึงกันทั่วโลกไม่จำกัดแค่ที่ใดที่หนึ่ง พูดกันจริงๆ แล้วทุกประเทศถือเป็นหลังบ้านของกันและกันหมดในแง่ของพลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ใช้? ดร.กอปร กล่าวซึ่งตีความได้ว่า ถึงแม้จะไม่เกิดการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีที่มีสาเหตุในประเทศไทยๆ ก็ไม่อาจหนีพ้นผลกระทบจากการรั่วไหลในที่อื่นๆ ได้เช่นกัน

สำหรับฝ่ายทำงานการเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมี ดร.กอปร เป็นประธานคณะกรรมการนั้น ประกอบด้วยชุดทำงาน 6 ขณะคือ ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ด้านการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ ด้านการคุ้มครองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านการสื่อสารและการยอมรับของสาธารณะ และสุดท้ายคือ ด้านการเตรียมการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยแบ่งช่วงเวลาเป็น 7 ปีแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อม และ 6 ปีหลังเริ่มการก่อสร้าง

?เรื่องของเทคโนโลยีและกำลังคน ไทยเรายังมีเวลาอีก 10 กว่าปีที่สามารถส่งคนไปศึกษาเตรียมความพร้อม ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ก็จะเข้ามาช่วย ตลอดจนมีหลักสูตรการผลิตคนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งในระยะยาวเราจะต้องยืนบนขาตัวเองให้ได้? ดร.กอปร ย้ำ

ส่วนสถานการณ์พลังงานของไทยในปัจจุบัน นายชวลิต พิชาลัย รอง ผอ.สำนักนโยบายและพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ให้รายละเอียดว่า มีการพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมากที่สุดราว 70% รองลงมาคือถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง 13% พลังงานน้ำเช่นจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ประมาณ 5% น้ำมันเตา 2 -3% ส่วนพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น ชีวมวล ลม ขยะ และพลังงานแสงอาทิตย์มีสัดส่วนเพียง 2%

ขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 500 เมกกะวัตต์ โดยเร็วๆ นี้จะมีบันทึกข้อตกลงเพิ่มจาก 3,000 เมกะวัตต์เป็น 5,000 เมกะวัตต์ และกำลังทำบันทึกข้อตกลงซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพม่าในระยะแรก 1,500 เมกกะวัตต์

นอกจากนี้ยังจะซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนานของประเทศจีนอีก 3,000 เมกกะวัตต์ เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น 1,200 -1,500 เมกกะวัตต์ ซึ่งคิดตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 4 -5% ขณะที่พลังงานทางเลือกก็จะไม่สามารถขยายได้จนเพียงพอต่อความต้องการได้

ทั้งนี้ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ได้กำหนดให้มีส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ขึ้น 2,000 เมกกะวัตต์ในปี 2563 และอีก 2,000 เมกกะวัตต์ในปีถัดไป รวมแล้วใน 13 – 14 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังการผลิต 1,000 เมกกะวัตต์จำนวน 4 โรงด้วยกัน

?ก๊าซธรรมชาติของไทยเราจะใช้ได้เต็มที่ไม่เกิน 30 ปี จึงมีการกำหนดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในแผนด้วย พร้อมๆ กับพลังงานทดแทนอื่นๆ แต่แล้วก็ล้วนแต่มีต้นทุนการผลิตสูงเกินไป ยกตัวอย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่อหน่วยถึงประมาณ 15 บาท ขณะที่ไฟบ้านที่ใช้กันทุกวันนี้มีต้นทุน 2 บาท/หน่วย? รอง ผอ.สนพ.กล่าว

นายชวลิต บอกด้วยว่า หากคำนวณโดยรวมค่าก่อสร้างโรงงาน เชื้อเพลิง และการกำจัดกากเชื้อเพลิงแล้ว ไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะมีราคาต่ำที่สุดคือ 2.01 บาท/หน่วยเท่านั้น

ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มของไทย นายชวลิต ชี้ว่า คือการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากต่างชาติ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม ซึ่งจะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ติดตามมา และยังเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ซึ่งเวลานี้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุน 2.08 บาท/หน่วย โดยยังไม่รวมค่าการจัดการคาร์บอน

?สิ่งที่ต้องเร่งทำในขณะนี้คือการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่อาจต้องพบกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอีก 13 ปีข้างหน้า โดยการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งในรูปเอกสารและรายการให้ความรู้ประชาชน? นายชวลิต อธิบาย

อย่างไรก็ตาม ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ร่วมรายการอีกรายหนึ่งซึ่งต่อสายสนทนาทางโทรศัพท์ ตั้งข้อสังเกตในมุมกลับบ้างว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจไม่ได้มีความคุ้มทุนและมีความปลอดภัยจริงดังอ้างก็ได้

ข้อสังเกตที่น่าสนใจเช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจนำมาซึ่งปัญหางบประมาณก่อสร้างบานปลายจากอัตราดอกเบี้ยจำนวนมากดังที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ แต่หากยืนยันทำจริงก็ต้องเปิดกว้างให้ประชาชนได้รับรู้และต้องทำให้ระบุตัวผู้รับผิดชอบได้ด้วย

นอกจากนั้นในช่วงปี 2543 เป็นต้นมาทั่วโลกต่างชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปมาก เหลือเพียงประมาณ 5 โรง/ปีเท่านั้น เนื่องจากความเกรงกลัวต่อการเกิดอุบัติเหตุเหมือนในอดีต และการเปิดเสรีด้านพลังงานในยุโรปตะวันตก ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์มีต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยจากปี 2543 เป็นต้นมา ทั่วโลกเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เฉลี่ยถึงปีละ 1 ครั้งเลยทีเดียว

?นอกจากนั้น เมื่อพูดเรื่องการกำจัดกาก ซึ่งรัฐบาลบอกว่าจะเก็บในเหมืองแร่โปแตสฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ต้องมีการรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ว่าจะเห็นด้วยไหม ซึ่งแม้แต่นายโมฮัมหมัด เอลบาราเด ผอ.ไอเออีเอ ยังยอมรับว่าพลังงานนิวเคลียร์ไม่ปลอดภัย 100% เพียงแต่มีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยงใช้เท่านั้น? ดร.เดชรัต ย้ำ

ด้าน ดร.กอปร ปฏิเสธข้อสังเกตนี้ว่า ไม่คิดว่ารัฐบาลจะเลือกใช้พื้นที่เหมืองแร่โปแตสเซียมเป็นที่เก็บกากเชื้อเพลิงจริง ส่วนเรื่องการกำจัดกากเชื้อเพลิงก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหรือน่ากังวลอย่างที่คิดกันด้วย

?ญี่ปุ่นเป็นปะเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาแล้ว 50 ปี แต่เพิ่งมีโรงเก็บกากเชื้อเพลิงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งกากเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วสามารถนำไปเก็บไว้ในบ่อพัก ซึ่งมีน้ำหล่ออยู่ข้างๆ เตาปฏิกรณ์ได้นาน 3 -10 ปีเพื่อให้รังสีอ่อนตัวลง จากนั้นจึงค่อยย้ายเก็บไปไว้ในบ่อพักภายในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ต้องมีบ่อพักที่อื่น ซึ่งเรามีเวลาเก็บได้ถึง 50 ปี? ประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ระบุ

สุดท้ายนี้ ดร.กอปร แจกแจงเพิ่มว่า ขณะนี้ทั่วโลกได้มีใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วทั้งสิ้น 437 โรงใน 31 ประเทศ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 30 โรง อนุมัติแผนและงบประมาณแล้ว 74 โรง โดยใน 15 ปีข้างหน้าจะมีข้อเสนอก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีกกว่า 200 แห่งทำให้มียอดรวมเป็นอีกเท่าตัวของปัจจุบัน เนื่องจากเหตุผล 3 ประการ คือ ราคาพลังงานปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้น 3 เท่า

ในเวลาเดียวกันยังมีการรณรงค์ลดภาวะเรือนกระจก ซึ่งมีความกังวลกันว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า พิธีสารเกียวโตจะหมดอายุ ทำให้ต้องออกกฎใหม่ซึ่งอาจมีความเข้มงวดด้านการจัดการคาร์บอนมากขึ้น ตลอดจนเทคโนโลยีที่ปลอดภัยมากขึ้นอันจะช่วยลดรายจ่ายด้านระบบความปลอดภัยลงได้อีกส่วนหนึ่ง ทำให้ต้นทุนพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ไม่มีความคุ้มทุนดังที่ ดร.เดชรัต อ้าง

?ข้อมูลของ ดร.เดชรัต อาจจะล่าช้าไปสัก 5 ปี จริงอยู่ที่เคยมีการชะลอตัวลงหลังการเกิดอุบัติเหตุที่ทรีไมล์ไอส์แลนด์ช่วงปี 2523 และเวลานั้นยังมีตัวเลือกด้านพลังงานอื่นๆ อยู่ด้วย แต่ในช่วง 3 -5 ปีมานี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มกลับมานิยมอีกครั้ง เพราะมีต้นทุนเทคโนโลยีถูกลงขณะที่ยังปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้มีข้อมูลอ้างอิงเป็นประเทศๆ ได้เลย? ดร.กอปร กล่าวในที่สุด

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000100128

]]>
https://www.whyworldhot.com/news/nuclear-reaction-in-thailand/feed/ 10
ระดมสมองนักวิทย์โลกถก โลกร้อน! เกษตรกรไทยเสียหายยับ https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/scientist-help-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/scientist-help-global-warming/#comments Sat, 28 Apr 2007 02:24:27 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/scientist-help-global-warming/ สหประชาชาติเตรียมรายงานฉบับที่ 3 ของไอพีซีซีออกเผยแพร่ ในเวทีประชุมเรื่อง ภาวะโลกร้อน ที่กรุงเทพฯ สัปดาห์หน้า ย้ำอุณหภูมิโลกเพิ่มแค่ 2 องศา 2,000 ล้านคนทั่วโลกต้องขาดแคลนน้ำสิ่งมีชีวิตร้อยละ 30 ต้องสูญพันธุ์

ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ภาวะโลกร้อน ปลายเดือนนี้ มีนักวิทยาศาสตร์และตัวแทนรัฐบาล 2,000 คน จาก 189 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ศูนย์ START ระบุน้ำทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยสูงขึ้น 2-8 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลจาก โลกร้อน

ทุกคนต่างรู้สึกได้ถึงอุณหภูมิที่ร้อนผิดปกติในปัจจุบัน และมีการพูดถึงเรื่อง ภาวะโลกร้อนกันอย่างกว้างขวาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ในประเทศไทย ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน-4 พฤษภาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ว่า การประชุมดังกล่าวจะมีนักวิทยาศาสตร์และผู้แทนรัฐบาลจาก 189 ประเทศทั่วโลก จำนวน 2,000 คน เข้าร่วมประชุมทางด้านวิชาการ โดยเนื้อหารายงานวิจัยจะว่าด้วยการทบทวนสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะสรุปผลการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงคงต้องขอสรุปจากรายงานฉบับนี้ก่อนว่าจะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ จึงจะบอกได้ว่าประเทศไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร

ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และรองประธานคณะกรรมการคณะที่ 1 ของไอพีซีซี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมของกลุ่มที่ 3 เกี่ยวกับเทคนิคและเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของ สภาวะโลกร้อน โดยแต่ละประเทศอ่านรายงานสรุปให้ผู้บริหาร เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับรายงานชิ้นดังกล่าวหรือไม่ ในส่วนของประเทศไทย ทางสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทส. เป็นผู้เสนอรายงาน

“การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมปิด ซึ่งจะนำเสนอเนื้อหาด้านเทคนิคและวิชาการ เกี่ยวกับการลดก๊าซ เรือนกระจก โดยให้แต่ละประเทศอ่านรายงานสรุปให้ผู้บริหารเพื่อลงมติยอมรับ เมื่อประชุมเสร็จสิ้นแล้ว คงมีรายงานสรุปว่า บทความชิ้นใดบ้างที่ได้รับการยอมรับ” ผศ.ดร.กัณฑรีย์ กล่าว

วันเดียวกัน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวที ” สื่อไทยเท่าทัน ภาวะโลกร้อน ” ว่า ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า ระดับน้ำทะเลในทะเลอันดามัน สูงประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย สูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวตามหลักทฤษฎีเกี่ยวข้องกับ ภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม จะทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลทั้งสองบริเวณอีกครั้ง โดยใช้เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของพื้นโลก เพื่อศึกษาว่าแผ่นดินที่ตรวจเกิดการทรุดตัวหรือไม่ คาดว่าภายใน 1 ปีจะสามารถยืนยันความถูกต้องของระดับน้ำทะเลได้

ดร.อานนท์ กล่าวถึงการเกิดฝนลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศว่า คนเข้าใจว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์กับ ภาวะโลกร้อน หากพิจารณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้อง เพราะฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อนซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อน ที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็งตกลงมาเป็นลูกเห็บ ปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับ ภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงจะสรุปได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน เพราะช่วงนี้พายุฤดูร้อนเข้ามาภาคกลาง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่า ช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ

วันเดียวกัน นายมาร์ติน ฮิลเลอร์ เจ้าหน้าที่โครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) แถลงว่า ไอพีซีซีที่กรุงเทพฯ พร้อมกับเตรียมนำร่างรายงานฉบับที่ 3 ของไอพีซีซีออกเผยแพร่ระหว่างจัดการประชุมด้วย ซึ่งรายงานฉบับนี้จะส่งสัญญาณชัดเจนไปยังรัฐบาลทั่วโลกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ภัยโลกร้อน สามารถแก้ไขได้หากทุกฝ่ายจริงจังที่จะดำเนินการ และการดำเนินการนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หากใช้ระบบซื้อขายโควตาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบที่ใช้ในยุโรป พร้อมกับย้ำว่า โลกสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ หากหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก อย่างถ่านหิน แล้วหันมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการตัดไม้ทำลายป่า

ก่อนหน้านี้ รายงาน 2 ฉบับแรกของไอพีซีซี ระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไม่มีขีดจำกัด อาจทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643 และหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นแม้เพียง 2 องศาเซลเซียส ก็อาจส่งผลกระทบทำให้ผู้คนทั่วโลกถึง 2,000 ล้านคน ที่ต้องประสบภาวะขาดแคลนน้ำภายในปี 2593 จนอาจทำให้สิ่งมีชีวิตร้อยละ 20-30 สูญพันธุ์ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศที่ปล่อยก๊าซรายใหญ่ อย่างสหรัฐ จีน และอินเดีย ลงนามและปฏิบัติตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต ที่กำหนดขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ที่ก่อให้เกิด ภาวะเรือนกระจก หรือ ปรากฎการณ์เรือนกระจก

ทั้งนี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลของไอพีซีซี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก ซึ่งประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านชั้นบรรยากาศ นักสมุทรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำแข็ง นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักชีววิทยา และผู้เชี่ยวชาญระดับหัวกะทิจากประเทศต่างๆ ซึ่งในการประชุมที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์หน้านี้ ไอพีซีซีจะเปิดเผยรายงานการสอบสวนการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลกชิ้นใหญ่ที่สุดของทางกลุ่ม หลังจากที่สอบสวนมานานถึง 6 ปีด้วย

บรรดาสมาชิกที่ร่วมจัดทำรายงานประเมินว่า รายงานฉบับนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางการเมืองและสังคมทั่วโลก ขณะที่ นายแอนดี เพียซ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประชาคมโลกเริ่มเห็นว่า สภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนนั้นเป็นเป็นภัยที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิต และทุกคนต้องร่วมมือแก้ปัญหานี้ด้วยกัน ซึ่งทางอังกฤษจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมการประชุมที่กรุงเทพฯ ด้วย

นายประจญ ปรัชญ์สกุล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากสภาพความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณภาคเหนือตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในหลายพื้นที่ จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อคืนวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา มีลมกระโชกแรงและมีฝนตกในพื้นที่ อ.เมือง อ.แม่ริม และ อ.เชียงดาว

นายชนะชัย เศรษฐพัฒน์ นายอำเภอเชียงดาว กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดจากลมกระโชกแรงเมื่อคืนที่ผ่านมามีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ทางอำเภอได้ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสามารถเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านได้ทันท่วงทีหากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น

อุตุนิยมวิทยาจังหวัดกาฬสินธุ์ คาดการณ์ว่า ในอีก 1 เดือนข้างหน้า จ.กาฬสินธุ์ จะเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไม่มีฝนตกในพื้นที่ อีกทั้งในเกณฑ์เฉลี่ยของสภาพอากาศ มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส ประชาชนควรเตรียมตัวรับมือกับปัญหาภัยแล้งไว้ด้วย

นายวิชัย แซ่อั้ง พนักงานเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ กล่าวว่า น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณ 1,226.16 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากความจุเต็มที่ 2,226.63 ล้าน ลบ.ม. แต่ยังคงปล่อยน้ำตามปกติวันละ 4.2 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน โดยจังหวัดขอนแก่นและชลประทานหนองหวายยังไม่มีแผนในการหยุดปล่อยน้ำแต่อย่างใด เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่เขตชลประทาน

นางกัญญา เตโซ ชาวสวนลิ้นจี่ ใน จ.นครพนม กล่าวว่า อากาศร้อนทำให้ชาวสวนต่างได้รับความเดือดร้อน เพราะผลลิ้นจี่ไม่สุกตรงตามฤดูกาล ปกติลิ้นจี่จะสุกและนำออกขายได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน แต่ปีนี้ลิ้นจี่ยังไม่สุกเต็มที่ จึงทำให้ขาดรายได้

ขณะที่กลุ่มผู้เลี้ยงโคนมบ้านโนนสวรรค์ หมู่ 8 ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร ที่ผลิตน้ำนมดิบส่งเข้าโรงนมภูพาน ต้องประสบปัญหาวัวนมที่เลี้ยงผลิตน้ำนมได้น้อยลง นายธีระ บัวทะราช เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคนม กล่าวว่า เลี้ยงวัวนม 30 ตัว ปกติวัวแต่ละตัวจะรีดน้ำนมได้วันละ 15-20 กิโลกรัม แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้วัวให้น้ำนมได้น้อยลง เหลือตัวละ 8-11 กิโลกรัมเท่านั้น

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 27 เมษายน ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำในหลายพื้นที่ของ จ.พิษณุโลก สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนราษฎรหลายจุด บริเวณหลัก กม.ที่ 41 ถนนสายพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ต.ดงประคำ อ.พรหมพิราม พายุได้พัดต้นไม้ล้มกีดขวางเส้นทางถนน 4 เลน เจ้าหน้าที่แขวงการทางพิษณุโลกจึงนำเลื่อยยนต์มาตัดกิ่งไม้ออกจากเส้นทาง

นายธนภัทร พงษ์ภมร ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สัตว์ภายในสวนสัตว์เกิดอาการเครียด ทางสวนสัตว์เชียงใหม่จึงใช้สเปรย์น้ำพ่นเพิ่มความชุ่มชื้น อีกทั้งมีการนำกระสอบชุบน้ำมาไว้ในคอกสัตว์ พร้อมทำร่มเงาเพิ่มให้สัตว์ที่ต้องอยู่กลางแจ้ง และมีการแจกจ่ายนำแข็งให้ลิงชิมแปนซีเพื่อคลายร้อนอีกด้วย

Credit : http://komchadluek.net/2007/04/28/a001_111290.php?news_id=111290

]]>
https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/scientist-help-global-warming/feed/ 10
ภาวะโลกร้อน ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/#comments Sun, 15 Apr 2007 16:19:41 +0000 http://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/ ตัดต่อและเรียบเรียงจาก ?CARBON CREDIT โลกสีดำจาก พิธีสารเกียวโต? ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสาร a day weekly ฉบับที่ 043 ประจำวันที่ เขียนโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
เรียบเรียงโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์

?ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย มหาสมุทรร้อนขึ้นระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำแข็งทะเลบางลง ชั้นดินเย็นแข็งคงตัวละลาย เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ทะเลสาบเล็กลง หิ้งน้ำแข็งพังทลาย ทะเลสาบจับตัวเป็นน้ำแข็งช้าลง แห้งแล้งยาวนาน ธารน้ำในเขตภูเขาเหือดแห้ง ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วขึ้น ฤดูใบไม้ร่วงมาถึงช้าลง ต้นไม้ออกดอกเร็วขึ้น ช่วงเวลาอพยพเปลี่ยนแปลง ถิ่นอาศัยเปลี่ยนไป นกทำรังเร็วขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลุกลาม ปะการังฟอกขาว การทับถมของหิมะลดลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหายไป พืชและสัตว์ต่างถิ่นรุกราน แนวชายฝั่งสึกกร่อน ป่าในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง อุณหภูมิในเขตละติจูดสูงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว?เกิดอะไรขึ้นกับโลกกันแน่?

นี่เพียงแค่บทเกริ่นนำของบทความไตรภาค ?มหันตภัยแห่งอนาคต: สัญญาณเตือนภัยจากปรากฏการณ์ โลกร้อน ?ในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค ชี้ให้เห็น ภาวะโลกร้อน ที่มีมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญ

และในขณะนี้ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในธรณีกาล กลับใช้เวลาเพียงชั่วอายุคนเท่านั้นเอง

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก พยายามชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ผิดปกติ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกคนตระหนักในปัญหาที่ตัวเองมีส่วนร่วมก่อ โดยเฉพาะการบริโภคแบบ ?สุด สุด? ที่ทำให้ต้องขุดพลังงานฟอสซิลทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินขึ้นมาใช้ อันเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะเรือนกระจก และเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินแก้

ด้าน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือสูงมาก และหากไม่ถึงขั้นวิกฤต คงไม่ออกมาเตือนว่า สภาพอากาศของ พ.ศ. 2546 ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชียมีความเลวร้ายอย่างน่าตระหนก สภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีทั้งที่อุณหภูมิที่สูงสุดและต่ำสุด ปริมาณฝนมากที่สุด และเกิดพายุมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในหลาย ๆ ส่วนของโลก ซึ่งสอดคล้องกับการพยากรณ์เกี่ยวกับ ปัญหาโลกร้อน

เช่นเดียวกับรายงานลับที่เพนตากอนส่งถึงประธานาธิบดีบุช เมื่อต้นปี 2547 ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกในอีก 20 ปีนับจากนี้จะเป็นหายนะครั้งใหญ่ของโลกยิ่งกว่าภัยจากการก่อการร้าย จะคร่าชีวิตผู้คนหลายล้านทั้งจากภัยธรรมชาติและสงครามเพื่อความอยู่รอด เมืองใหญ่ในยุโรปจะตกอยู่ในสภาวะอากาศแบบไซบีเรีย หลายเมืองสำคัญที่อยู่ริมฝั่งน้ำจะจมน้ำ เกิดความแห้งแล้งและอดอยาก จนนำไปสู่การจลาจลและสงครามในที่สุด

กระนั้น คำเตือนของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้ง 2 ชิ้น ก็ไม่ได้ทำให้ผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย 2 ประเทศมหาอำนาจที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโลก คือรวมกันมากกว่า 1ใน4 ของโลกเปลี่ยนท่าที

พิธีสารเกียวโต: ความหวังครั้งใหม่?

ภายหลังการลงนามในอนุสัญญา ให้มีผลบังคับใช้ของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) หลังจากที่เจรจายาวนานกว่าค่อนทศวรรษ

ศรีสุวรรณ ควรขจร เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ซึ่งเฝ้าสังเกตการณ์การเจรจานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ระบุว่า ?ชาวโลกยังคาดหวังมันเกินฐานะที่เป็นจริง?

จากความมุ่งหวังอย่างยิ่งยวดที่จะให้ทุกประเทศต้องร่วมรับผิดชอบลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ แต่เป้าหมายกลับต่ำเตี้ยเพียงว่า ในช่วงที่หนึ่ง (ภายในปี 2555) กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนมากปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาแต่ครั้งปฏิวัติอุตสาหกรรม จนถึงปัจจุบันนานนับศตวรรษ จะต้องเป็นผู้นำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงเพียง 5.2 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ตนปล่อยในปี 2533 ส่วนประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเริ่มปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่กี่ทศวรรษมานี้ ค่อยไปร่วมรับผิดชอบลดการปล่อยในช่วงที่สอง ซึ่งยังไม่รู้ว่าเมื่อไร

ทั้งที่ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายมีข้อสรุปกันมาหลายปีก่อนการประชุมสุดยอดทางสิ่งแวดล้อม ได้ระบุว่า หากมนุษยชาติจะหลีกเลี่ยงหายนะภัยทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกให้ได้นั้น ปริมาณการปล่อยต้องลดลงถึง 70-80% ไม่ใช่เพียงแค่ 5-6 % และต้องดำเนินการโดยเร็ว คือภายใน 1 – 2 ปีนี้ ไม่ใช่ค่อย ๆ ลดในอีกหลายสิบปีข้างหน้า

แต่หลายปีที่ผ่านมา ?ในการเจรจาต่อรองที่กลุ่มประเทศต่าง ๆ ต้องชิงไหวชิงพริบเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตน โดยประเทศอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายได้เปรียบด้วยความเหนือกว่า (ประเทศกำลังพัฒนา) ในกระบวนการเจรจาต่อรอง บวกกับอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมสูง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ที่เริ่มเข้ามาครอบงำกระบวนการของการประชุม?

ผลที่ได้คือ เนื้อหาในพิธีสารที่อ่อนปวกเปียก และมองประเด็นการสร้างภาระต่อบรรยากาศที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ว่าเป็นเรื่องชอบธรรม เพราะเขา ?รวย? เขาจึงมี ?สิทธิ? ทำได้ นั่นคือ อนุญาตให้ใครจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไหร่ก็ได้ ตราบเท่าที่เขาสามารถไปซื้อ ?คาร์บอนเครดิต? ที่เกิดจากการดูดกลับคาร์บอนด้วยวิธีการบางอย่าง หรือที่ในพิธีสารเรียกว่า กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เช่น การปลูกต้นไม้ซึ่งอ้างว่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปเป็นเนื้อไม้หรือใบไม้ ดังนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินอยากจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ล้านตันต่อปีก็ปล่อยไป ตราบเท่าที่โรงไฟฟ้านั้นปลูกต้นไม้หลายพันต้น

วิธีการที่ว่านี้ไม่เพียง ?ไม่แก้ปัญหา? แต่ยังเพิ่ม ?ความอยุติธรรม? ด้วยการปล่อยให้ประเทศและคนที่ใช้พลังงานอย่างบ้าคลั่งลอยนวล โดยไม่ได้สร้างความตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคว่า เขาต้องลดการใช้พลังงาน หากต้องการเห็นโลกดีขึ้น เพื่อลูกหลานในวันข้างหน้า แต่การปลูกต้นไม้นี้กลับนำไปสู่ปัญหาเรื่องการยื้อแย่งที่ดินและน้ำ โดยเฉพาะในประเทศซีกโลกใต้

ในเมื่อประเทศรวยอยาก ?ผลาญ? ต่อ ประเทศยากจนก็อยากได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิต สิ่งที่เราจะเห็นในไม่ช้าก็คือ รัฐบาลประเทศที่จ้องจะขายคาร์บอนเครดิตจะไล่คนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นออกจากแผ่นดินของตัวเอง ตัดป่าธรรมชาติเพื่อสร้างสวนป่าด้วยไม้ตัดต่อพันธุกรรม ระบบนิเวศถูกตัดตอนลดความซับซ้อน ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย ฯลฯ

Carbon Trade Fair

?คาร์บอนกำลังจะเป็นสินค้าสุดฮอตในตลาดโลก และจะเป็นสินค้าที่มีตลาดใหญ่ที่สุดด้วย? นี่จึงไม่ใช่การวิเคราะห์ที่เกินเลยจากความเป็นจริง ผู้ที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมประชุมเกี่ยวเนื่องกับสาระของพิธีสารเกียวโตหลายครั้ง ต่างบรรยายความรู้สึกตรงกันว่า ไม่ใช่เวทีประชุมเพื่อแก้ปัญหา ภาวะโลกร้อน อีกต่อไปแล้ว แต่มันเป็นมหกรรมแสดงสินค้าที่เรียกว่า ?คาร์บอน? หรือ Carbon Trade Fair มากกว่า

กลุ่มเครือข่ายผู้สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ต่างคุยว่า ด้วยโครงการปลูกป่าเพื่อ ?คาร์บอนเครดิต? จะเป็นการเพิ่มการลงทุนในชนบท ซึ่งสามารถช่วยลดความยากจนได้ ผู้อ่านลองไปดูกันเลยดีกว่าว่า ?การหากินกับอากาศ? ครั้งนี้ ใครได้ประโยชน์กันบ้าง

บรรษัทอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนมีพฤติกรรมและการลงทุนผูกติดอยู่กับการทำเหมืองและการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิล พยายามขวางไม่ให้ตัวแทนสหรัฐผูกมัดตัวเองเข้ากับการลดการปล่อยแม้เพียงปริมาณน้อยนิด โดยในการเจรจาพิธีสารเกียวโต บรรดาบรรษัทเหล่านี้สั่งให้ตัวแทนสหรัฐและประเทศร่ำรวยอื่น ๆ ยืนยันที่จะต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน คือการยอมให้มีการแลกเปลี่ยนค้าขายสิทธิหรือเครดิตในการปล่อยได้ เพื่อเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดให้ได้ตามเป้าหมาย พวกเขาให้เหตุผลว่า อย่างน้อยนี่จะเป็นการถ่วงเวลาหรือหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำธุรกิจ

บริษัทผลิตไฟฟ้า มองการปลูกป่าว่า เป็นวิธีการราคาถูก และง่ายที่จะโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้บริโภคเห็นว่า พวกเขากำลังลดอยู่ คณะกรรมการผลิตไฟฟ้าของเนเธอร์แลนด์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในการดำเนินโครงการปลูกป่าไม้ซุงในรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย และการปลูกป่าสนและยูคาลิปตัสในเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์ โตเกียวอีเล็คตริคพาวเวอร์กำลังปลูกต้นไม้ในนิวเซาธ์เวลส์ ดีทรอยท์เอดิสันกำลังทำในอเมริกากลาง และซาสก์พาวเวอร์ของแคนาดากับแปซิฟิกพาวเวอร์ของออสเตรเลียก็กำลังทำอยู่ในประเทศของตัวเอง (อย่าไปถามว่าพวกนี้ได้ที่ดินในการปลูกป่ามาอย่างไร พวกเขาทำลายป่าธรรมชาติก่อนสร้างสวนป่าหรือไม่ และมีผลกระทบอะไรบ้าง)

บริษัทพลังงาน ขาใหญ่อีกราย พวกเขายืนยันที่จะผลาญพลังงานต่อไป โดยหวังไถ่บาปด้วยการปลูกป่าแทน บริษัทอเมริกันที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เซ็นสัญญามูลค่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐกับคอสตาริกา ที่จะจ้างชาวนาให้ปลูกต้นไม้และดูแลเป็นเวลา 15-20 ปี อเมราดาแก๊สกำลังจะได้รับยี่ห้อ ?Climate Care? จากการปลูกป่าที่อูกันดา, ซันคอร์อีเนอร์จี (บริษัทขุดเจาะ กลั่นและขายน้ำมันของแคนาดา) วางแผนที่จะร่วมกับเซาเธิร์นแปซิฟิกปิโตรเลียมและเซ็นทรัลแปซิฟิกมิเนอรัลส์ในโครงการปลูกต้นไม้พื้นเมืองมากกว่า 180,000 ต้นในรัฐควีนส์แลนด์เพื่อ ?ชดเชย? กับคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะปล่อยออกมาในอนาคต

บริษัทรถยนต์ หวังได้ภาพลักษณ์สีเขียวโดยการปลูกต้นไม้ ในอังกฤษ ลูกค้าที่ซื้อรถมาสดารุ่นเดมิโอจะได้โบนัสพิเศษ คือบริษัทจะปลูกต้นไม้ 5 ต้นเพื่อ ?ชดเชย? ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะรถปล่อยออกมาในปีแรก ดังนั้นลูกค้ามีสตางค์ก็ไม่เพียงแต่มีส่วนในการขุดเจาะ กลั่นน้ำมัน ทำเหมืองโลหะกับช่วยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการไล่รื้อที่ดินเพื่อใช้ในการปลูกป่าที่พวกเขาอาจไม่เคยได้เห็นอีกด้วย

บริษัทนายหน้าและธนาคาร คาดหวังที่จะได้ค่าคอมมิสชั่นจากการเป็นนายหน้าตามตลาดคาร์บอนที่จะเปิดในชิคาโก ลอนดอนกับซิดนีย์ องค์กรอย่างสหพันธ์กักเก็บคาร์บอนนานาชาติและอเมริกันฟอร์เรสท์ก็กำลังวางแผนการตลาดค้าคาร์บอนเครดิต ธนาคารอย่างยูเนียนแบงก์ของสวิตเซอร์แลนด์ก็กำลังรอปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการปลูกป่า

บรรดานักวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม แนวโน้มต่าง ๆ เหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้มีการตั้งสถาบัน สร้างงานและเกียรติยศให้กับมืออาชีพจำนวนมากมายที่อยากทำวิจัย รับรอง และบริหารโครงการปลูกป่า บริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ สามารถกอบโกยผลประโยชน์ในการตรวจสอบและรับรองโครงการเหล่านั้น

องค์กรโลกบาล วางแผนที่จะกอบโกยจากการค้าคาร์บอน โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างการเมืองที่มีอยู่ในมือ ยกตัวอย่าง ธนาคารโลกหวังประโยชน์ 2 ทางจากการสนับสนุนการพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศกำลังพัฒนา แล้วก็คอย ?เก็บกวาด? ทีหลังจากโครงการปลูกป่า แล้วก็ยังใช้เงินทุนสนับสนุนจากบริษัทไฟฟ้ากับรัฐบาลยุโรปเหนือเพื่อพัฒนา ?กองทุนคาร์บอนต้นแบบ? (Clean Development Fund-CDF) ที่มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ?ตลาดก๊าซเรือนกระจกของโลก? และมีโครงการต่าง ๆ สำหรับประเทศทางใต้อยู่เต็มมือ โดยวางแผนจะผลักดันให้มีธนาคารคาร์บอนหรือตลาดแลกเปลี่ยนคาร์บอนขึ้นมา อีกทั้งในเอกสารลับยังระบุว่า จะกินหัวคิว 5 เปอร์เซ็นต์ จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

นักทำไม้อาชีพ เล็งผลเลิศจากการกลับมาบูมของการปลูกป่าคราวนี้ว่า เป็นหนทางที่จะยกระดับอาชีพที่อยู่ชายขอบและต่ำต้อยทางการเมืองของตนให้มีความสำคัญและรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เช่น สมาคมป่าไม้อเมริกันก็เสนอทันทีว่า จะปลูกต้นไม้ 100 ล้านต้นเพื่อบรรเทาปัญหา ที่นอร์เวย์ บริษัทป่าไม้ทรีฟาร์มส์ได้ประกาศโครงการปลูกสนโตเร็วและยูคาลิปตัสบนเนื้อที่ 150 ตารางกิโลเมตรของทุ่งหญ้าในแทนซาเนีย บริษัทอ้างว่าภายในปี 2553 โครงการนี้จะเก็บคาร์บอนได้มากกว่าหนึ่งล้านตัน

นักวิจัยวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ก็ยังคาดหวังที่จะมีลู่ทางการงานในตลาดปลูกป่าด้วย เพราะอุตสาหกรรมคาร์บอนที่กำลังโตอยากได้ต้นไม้ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีสารลิกนินสูงเพื่อต้นไม้จะได้อยู่นานขึ้น (แต่อาจต้องตบตีกับอุตสาหกรรมกระดาษที่อยากได้ไม้ดัดแปลงพันธุกรรมที่มีสารลิกนินต่ำ)

นักวิชาการ จากสถาบันอย่างมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กกับมหาวิทยาลัยฟลอริดาก็กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการหาวิธีรับรองและตรวจสอบการดูดซับคาร์บอน หรือแม้แต่นักวิชาการไทยด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า ?หากประเทศไทยรับโครงการ CDM แต่ละหน่วยงานจะต้องไปหาซื้อเซฟใหญ่มาเก็บเงินที่จะไหลมาเทมา?

เจ้าหน้าที่รัฐในประเทศซีกโลกเหนือ (อุตสาหกรรม) หลายประเทศก็พากันตามกระแสอย่างขมีขมัน อย่างรัฐบาลออสเตรเลียหวังว่าการตั้งตลาดต่อรองเรื่องใบอนุญาตการปล่อยกับคาร์บอนเครดิตจะกระตุ้นเศรษฐกิจ, รัฐมนตรีเกษตรของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ก็ตื่นเต้นกับ ?อุตสาหกรรมพลวัตใหม่? ซึ่งจะสร้างงานในพื้นที่ปลูกป่าใหม่ ๆ นับล้านเฮกตาร์ เงินบางส่วนจะมาจากบริษัทผลิตไฟฟ้าญี่ปุ่น

รัฐบาลประเทศทางใต้ หลายประเทศก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะแข็งขืนกระแสการปลูกป่าได้ อาร์เจนตินาก็คิดว่าจะได้เงินปีละ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการ ?ดูแลรักษาป่าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์? ซึ่งปลูกด้วยเงินลงทุนต่างชาติ 4 พันล้านเหรียญบนพื้นที่ 10 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า รัฐมนตรีประเทศแอฟริกันราว 26 คนได้เรียกร้องให้มีกองทุนพิเศษเพื่อเตรียมการงานบริหารจัดการ

เอ็นจีโอบางกลุ่ม ซึ่งตั้งตัวเองเป็นนายหน้าคาร์บอนและผู้เชี่ยวชาญการดูดซับคาร์บอน ก็หวังว่าจะได้การยอมรับจากผู้สนับสนุนหรือเพื่อนพ้องในรัฐบาลและธุรกิจว่าเป็น ผู้สนับสนุนแนวทาง ?ตลาดเสรี? ที่กำลังเป็นกระแสหลักในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนกองทุนปกป้องสภาพแวดล้อมกับพันธมิตรป่าฝนได้ร่วมกับ Forestry Research Institute ในการช่วยตรวจสอบบัญชีโครงการป่าคาร์บอนของซัน คอร์ปอเรชั่นในอเมริกากลางและที่อื่น ๆ

เอ้า…เอากันซะให้พอ

ภาวะโลกร้อน ภาวะสิ้นหวัง

ขณะที่คนบางกลุ่มกำลังหากินกับ ภาวะโลกร้อน อย่างขมีขมัน โลกไม่ได้อยู่เฉยให้พวกเขากอบโกย เพราะ ?ระเบิดเวลาทางนิเวศกำลังเดินต่อไป? จากหนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ รายงานว่า ได้ถึงภาวะนับถอยหลังเข้าสู่หายนะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยโลกอาจเข้าสู่จุดที่ไม่สามารถกลับตัวได้ ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี นี่ไม่ใช่คำทำนายของนอสตาดามุส แต่เป็นรายงาน ?การเผชิญความท้าทายของสภาพอากาศ? ผลงานร่วมของ 3 สถาบันคือ สถาบันเพื่อการวิจัยนโยบายสาธารณะของอังกฤษ ศูนย์เพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา และสถาบันออสเตรเลีย รายงานระบุว่า จุดอันตรายจะส่งสัญญาณเมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 1750 ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

ขณะที่ในปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยได้สูงขึ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว 0.8 องศา และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผลที่จะเกิดตามมาจากการเพิ่มขึ้นต่าง ๆ เหล่านี้อาจรวมถึงความล้มเหลวทางการเกษตร ความแห้งแล้งครั้งใหญ่ ตลอดจนโรคระบาดชุกชุม ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และป่าไม้แห้งตาย ผนวกกับข่าวร้าย พืดน้ำแข็ง (ice sheet) ขนาดมหึมาในด้านตะวันตกของแอนตาร์กติก มีมวลน้ำแข็งถึง 3.2 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ที่กำลังสูญเสียเสถียรภาพ ซึ่งหากละลายทั้งหมด จะยกระดับน้ำทะเลทั่วโลกให้สูงขึ้นอีก 16 ฟุต หรือ 4.8 เมตร และหากรวมกับน้ำแข็งที่กรีนแลนด์และขั้วโลกเหนือที่กำลังหลอมละลายอย่างรวดเร็ว จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นอีก 20 ฟุต หรือ 5-6 เมตร รวมเหนือใต้แล้วอาจทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 12 เมตร

ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางส่วนรวมทั้งนักรณรงค์ปัญหาภูมิอากาศ…สิ้นหวัง ซึ่ง ผศ.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ถอนหายใจเมื่อได้ยินคำถามว่า จาก ภาวะโลกร้อน ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ เราจะทำอย่างไรกันดี

?หากคุณมาถามคำถามนี้กับผมเมื่อ 10 ปีก่อน ผมอาจจะยังมีคำตอบให้ แต่ขณะนี้ไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้ว เราหลีกเลี่ยงหายนะเหล่านี้ไม่ได้ มันเกิดจากการใช้ชีวิตของเรานี่เอง.?
Credit :Localtalk2004.com

]]>
https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/global-warming-timebomb/feed/ 27