ผลลัพท์การค้นหาสำหรับ “Global Warming” – Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน รวมทั้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน และ วิธีในการแก้ไขปัญหา โลกร้อน Tue, 18 May 2010 13:34:04 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.8.24 คนนับหมื่นจากทั่วโลกร่วมกำหนดทางสู้โลกร้อนบนเกาะบาหลี https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/ https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/#comments Mon, 17 Dec 2007 11:57:09 +0000 http://www.whyworldhot.com/news/latest-ipcc-conference/ การประชุม IPCC

เอเอฟพี / เอพี ? เหล่าผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมการประชุมโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุด โดยยูเอ็นโต้โผใหญ่หวังเกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2552

ผู้ร่วมประชุมจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนตอนนี้ กำลังรวมตัวอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพวกเขาจะตั้งหลักอยู่นั่นถึง 11 วัน เพื่อร่วมการประชุมสหประชาชาติภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค.50

การประชุมที่บาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปสุดยอดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ก็จะมีการเปิดเผยกันในที่ประชุมแห่งนี้ พร้อมกับผลสรุปที่ว่าโลกเรามีเทคโนโลยีดีพอที่จะชะลอสภาวะโลกร้อน (global warming) แต่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วน

จุดหมายที่เร่งด่วนจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือการเจรจาต่อรอเพื่อตั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นแทนที่พีธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2555 โดยจะต้องกำหนดวาระและเส้นตาย ซึ่งสหประชาชาติเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวจะต้องสรุปให้ได้ภายในปี 2552 จึงจะใช้งานต่อเนื่องจากพิธีสารเกียวโตได้ทันการณ์

อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาก็เป็นชาติที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเช่นเคย และการปฏิเสธเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตของพญาอินทรี อาจทำให้ถูกตัดออกจากการเจรจาสัญญาต่อจากนี้ ซึ่งอเมริกายังคงอ้างเช่นเดิมว่าการลดปริมาณการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกตามข้อตกลงในพิธีสารนั้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งคำถามต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอปรากฏการณ์โลกร้อน

ทั้งนี้ หัวข้อถกเถียงส่วนใหญ่คือประเด็นการลดการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกจะมากน้อยเท่าใดนั้นควรมีมาตรการบังคับ (อย่างในพิธีสาร) หรือตามความสมัครใจ (อย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ) และควรจะหมายรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างจีน อินเดีย และบราซิล รวมเข้าไปด้วย อีกทั้งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือประเทศยากจนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้

ข้อมูลจากรายงานของไอพีพีซี ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก แนะนำว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนจนก่อสภาวะเรือนกระจกจะต้องมีการปลดปล่อยในปริมาณที่เสถียรภายในปี 2558 และจากนั้นหากลดลงไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่ร้ายแรง

การแก้ปัญหาที่ทำได้ในขณะนี้ตามข้อแนะนำของไอพีซีซีคือ ลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ (ซึ่งมากถึง 1 ใน 3) และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

ทว่าทั้งหมดนี้ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของแต่ละประเทศเข้าช่วย

ตลอดระยะเวลาแห่งการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่จะต่อรองความร่วมมือต่างๆ ตรงกันข้ามกับพิธีสารตลอดมา ทั้งๆ ที่ยูเอ็นต้องการให้พญาอินทรีให้ความร่วมมือ และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นวงใหญ่เมื่อดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลของออสเตรเลียที่มีนายจอห์น โฮเวิร์ดเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องโดดเดี่ยว เพราะเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย ที่เพิ่งสาบานตนรับตำแหน่งไปไม่กี่วัน นอกจากจะประกาศแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตแล้ว ในวันแรกของการประชุมที่บาหลี ผู้แทนของออสเตรเลียได้ลงนามในพิธีสารเป็นที่เรียบร้อย

พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศที่ลงนามมากว่า 10 ปี โดยเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรม 36 ชาติลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซก่อเรือนกระจกอื่นๆ ที่มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรรมและการคมนาคมให้ได้ภายในปี 2555 โดยเฉลี่ย 5% จากระดับในปี 2533

Credit

]]>
https://www.whyworldhot.com/whyworldhot-site/latest-ipcc-conference/feed/ 11
คุณกำลังฆ่าหมีขั้วโลก โดยไม่รู้ตัว https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/#comments Thu, 04 Oct 2007 12:02:21 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/ คุณอาจไม่รู้ตัวว่า ภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมาก นอกจากมนุษย์
หนึ่งในนั้นก็คือ หมีขั้วโลก สัตว์โลกที่ไม่ได้มีส่วนทำให้โลกร้อนเลย แต่กลับต้องมารับกรรมจากการกระทำของมนุษย์

หมีขั้วโลกที่หาทางกลับฝั่งไม่ได้

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบกับหมีขั้วโลกอย่างไร
ภาวะโลกร้อนเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น แผ่นน้ำแข็งละลายมากขึ้น ในฤดูร้อน
หมีขั้วโลกมีลักษณะการหากินที่ชอบออกจากฝั่งไกล แต่จากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น
ทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น และมากขึ้น หลายครั้งที่หมีขั้วโลก ไม่สามารถกลับเข้าฝั่งได้ จนต้องจมน้ำ หรือขาดอาหารตาย

หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รายงานการคาดการณ์ว่า ประชากรหมีขั้วโลกจะหายไปถึง 2 ใน 3 ภายในปี 2050

Discovery Channel รายงานว่าประชากรหมีขั้วโลกในปัจจุบันลดลง 22% จาก 17 ปีที่แล้ว

คุณสามารถ ชมคลิปวิดีโอหมีขั้วโลกที่เจอผลกระทบ จาก WWF กองทุนเพื่อสัตว์ป่าระดับโลก ได้ที่นี่

ในสารคดี Planet Earth ของ BBC หรือที่ฉายในเมืองไทยในชื่อว่า ปฐพีชีวิต ได้รายงานผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อหมีขั้วโลกเช่นกัน

ทำไม หมีขั้วโลก ถึงต้องมาเป็นเหยื่อให้กับการกระทำของมนุษย์ ?
คุณสามารถลดมลภาวะของคุณเองได้ตั้งแต่วันนี้ ร่วมกันลดภาวะโลกร้อนตั้งแต่วันนี้ เพื่อโลกที่ดีขึ้น
คุณสามารถคำนวนมลภาวะคาร์บอนที่คุณปล่อยในแต่ละปีได้ที่นี่ Whyworldhot Carbon Calculator
10 วิธีลดภาวะโลกร้อนง่ายๆ
หรือบอกต่อเพื่อนๆของคุณ เดี๋ยวนี้ เพื่อให้ทุกคนช่วยกันมีส่วนร่วม ในการลดภาวะโลกร้อน

รายงานอื่นๆ เกี่ยวกับภาวะวิกฤติของหมีขั้วโลก
Is Global Warming Killing the Polar Bears?

Global warming sees polar bears stranded on melting ice

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/feed/ 13
ภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อไฟป่าใน Alaska https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/#comments Tue, 25 Sep 2007 14:01:18 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/ ป่าที่เคยชุ่มชื้นในอะลาสกา ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง และไฟป่า ซึ่งภาวะแห้งแล้งเป็นผลกระทบหนึ่งจากภาวะโลกร้อน
ไฟป่าใน Alaska
ภาพจาก Alaska Fire Service, AP

เนื้อข่าวจาก TIME Global Warming Photo Essay : http://www.time.com/time/photoessays/2006/global_warming/

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/feed/ 6
ความจริงของ ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/ng-global-warming-fast-fact/ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/ng-global-warming-fast-fact/#comments Sat, 09 Jun 2007 11:45:46 +0000 http://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/ng-global-warming-fast-fact/ ภาวะโลกร้อน หรือสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง กำลังบอกเราว่า ไม่มีสัญญาณว่าโลกจะเย็นขึ้นแต่อย่างใด

นี่คือความจริงที่ว่า ทำไมมันถึงเกิดขึ้น อะไรคือสาเหตุ และมีผลกระทบกับโลกนี้อย่างไร

ภาวะโลกร้อน กำลังเกิดขึ้น ?

ใช่แน่นอน โลกกำลังแสดงสัญญาณหลายอย่างว่า ภาวะอากาศ กำลังเปลี่ยนแปลง

  • อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ปี 1880 และส่วนมากเพิ่มขึ้นในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของสถาบันวิจัยอวกาศกอดดาร์ดส์แห่งนาซา
  • อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2 ทศวรรษในศตวรรษที่ 20 มีปีที่ร้อนที่สุด ในรอบ 400 ปี และเป็นไปได้ว่าที่สุดในรอบ 1000 ปี จากข้อมูลของ IPCC ระบุว่า ใน 12 ปีที่ผ่านมา มี 11 ปีเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ปี 1850
  • อาร์กติกได้รับผลกระทบมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในอลาสกา แคนาดาตะวันตก และรัสเซียตะวันออก เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานของ multinational Arctic Climate Impact Assessment ช่วงปี 2000-2004
  • น้ำแข็งในอาร์กติก กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และอาจไม่มีน้ำแข็งอีกเลย ในฤดูร้อน ปี 2040 หรือเร็วกว่า http://news.nationalgeographic.com/news/2006/12/061212-arctic-ice.html
    ชาวพื้นเมืองและหมีขั้วโลกก็กำลังเผชิญกับภัยนี้เช่นกัน
  • ธารน้ำแข็ง และหิมะบนภูเขา ได้ละลายอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นธารน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติมอนทาน่า ปัจจุบันเหลือเพียง 27 ธารน้ำแข็งจาก 150 เมื่อปี 1910
    http://news.nationalgeographic.com/news/2004/12/
    photogalleries/global_warming/
  • ปะการัง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากอุณหภูมิน้ำ ได้ตายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 1998 ปะการังกว่า 70% ขาวซีดในบางพื้นที่ http://news.nationalgeographic.com/news/2006/05/warming-coral.html
  • ภาวะอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น คลื่นความร้อนพายุ และการเกิดไฟป่า

มนุษย์เป็นตัวการหรือ ?

จากรายงานของ IPCC มีความเป็นไปได้สูงมาก โดยรายงานนี้จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 2500 คนใน 130 ประเทศ ได้สรุปว่า มนุษย์เป็นตัวการของสาเหตุเกือบทั้งหมด ที่ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน

  • การทำอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า และการปล่อยมลพิษอย่างมหาศาล ได้เพิ่มความเข้มข้นของไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ในบรรยากาศ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บความร้อนไว้ทั้งสิ้น (ดูข้อมูลเพิ่มเติมว่าโลกร้อนเกิดได้อย่างไร ที่
    http://green.nationalgeographic.com/environment/global-warming/gw-overview-interactive.html)
  • มนุษย์กำลังเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ มากกว่าที่ต้นไม้และมหาสมุทรสามารถรับได้ http://news.nationalgeographic.com/news/2007/05/070517-carbon-oceans.html
  • ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะอยู่ในบรรยากาศไปอีกนาน หมายความว่าการหยุดปล่อยก๊าซเหล่านี้ ไม่สามารถหยุดภาวะโลกร้อนได้ทันที http://news.nationalgeographic.com/news/2005/03/
    0317_050317_warming.html
  • ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนเกิดเป็นวัฎจักรสม่ำเสมอ ซึ่งเกิดจากปริมาณแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังโลก และเป็นวัฏจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในรอบเวลานับแสนปี แต่การเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาแค่เป็นร้อยปี จึงมีผลการวิจัยที่หักล้างทฤษฎีดังกล่าวออกมา http://news.nationalgeographic.com/news/2006/09/060913-sunspots.html

อะไรกำลังจะเกิดขึ้น ?

  • รายงานของ IPCC ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า ในอนาคต อาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ และภัยพิบัติต่อสัตว์ป่า
  • ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นระหว่าง 7-23 นิ้ว ซึ่งระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 4 นิ้วก็จะเข้าท่วมเกาะ และพื้นที่จำนวนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ผู้คนนับร้อยล้านที่อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 1 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อาจะต้องย้ายถิ่น โดยเฉพาะในสหรัฐ รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนาก็เสี่ยงเช่นกัน http://news.nationalgeographic.com/news/2006/03/
    0323_060323_global_warming.html
  • ธารน้ำแข็งละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำจืดได้
  • พายุที่รุนแรง ภาวะแห้งแล้ง คลื่นความร้อน ไฟป่า และภัยธรรมชาติต่างๆ จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ทะเลทรายจะขยายตัวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในบางพื้นที่
  • สัตว์นับล้านสปีชี่ส์ จะสูญพันธุ์ จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด http://news.nationalgeographic.com/news/2004/
    01/0107_040107_extinction.html
  • การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร อาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆ ในยุโรป และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ http://news.nationalgeographic.com/news/2005/
    11/1130_051130_ice_age.html
  • ในอนาคต เมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้นที่ควบคุมไม่ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Positive Feedback Effect ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกเก็บ อยู่ในส่วนชั้นน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย (Permafrost) และ ใต้ทะเลออกมา หรือคาร์บอนที่ถูกน้ำแข็งกับเก็บไว้ ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

จาก National Geographic Global Warming Fast Fact

http://news.nationalgeographic.com/news/2004/12/
1206_041206_global_warming.html

]]>
https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/ng-global-warming-fast-fact/feed/ 93
51 อย่างที่ทำได้ ในการแก้ ภาวะโลกร้อน จาก TIME https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/time-51-things-we-can-do/ https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/time-51-things-we-can-do/#comments Sun, 29 Apr 2007 14:13:38 +0000 http://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/time-51-things-we-can-do/ TIME Cover

TIME Magazine ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2007 ได้ลงหน้าปกว่า Global Warming Survivor Guide
หรือ คู่มือเอาชีวิตรอด จาก ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับ 51 วิธี แก้ปัญหา โลกร้อน ที่พวกเราสามารถทำได้

1. ใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล์ เอธานอล ให้มากขึ้น
2. ลดการใช้ พลังงาน ในบ้าน (การใช้ไฟฟ้าในที่พักอาศัย มีส่วนทำให้เกิด ก๊าซเรือนกระจก ถึง 16% )
3. เปลี่ยนหลอดไฟ หลอดไฟแบบขด compact fluorescent lightbulb (CFL) จะใช้ไฟเพียง 1 ใน 4 ของปกติ
4. การเปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่า และประหยัดไฟฟ้ากว่าหลอดปกติ 40 %
5. ในอเมริกา ได้มีการรณรงค์ให้เก็บ ภาษีคาร์บอน จากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ลงราว 5%
6. บ้านหลังใหญ่ กินไฟกว่า การอยู่บ้านหลังใหญ่เกินความจำเป็น ส่งผลให้มีการใช้พลังงานมากกว่าที่ต้องการได้
7. ไม่ซักผ้าในน้ำอุ่น ตากผ้า แทนที่จะใช้เครื่องอบผ้า ผลการวิจัยบอกว่า ตลอดอายุการใช้งานของเสื้อ 1 ตัวจะปล่อย CO2 จากการซัก รีด อบแห้ง ประมาณตัวละ 9 ปอนด์
8. รีไซเคิลเสื้อ ในบางบริษัท มีการรับบริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว จะนำไปหลอมมาทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 71%
9. สร้างตึกสีเขียว ในการก่อสร้าง บางตึกจะผสมคอนกรีต เข้ากับ slug (ของเสียที่ได้จากเหมือง) ซึ่งจะทำให้แข็งแรงขึ้น ลดการใช้พลังงานได้มากขึ้น

TIME 51 Things we can do

http://www.time.com/time/specials/2007/environment/

]]>
https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/time-51-things-we-can-do/feed/ 45
Stephen Hawking warns about Global warming https://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/#comments Thu, 26 Apr 2007 13:51:28 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/ เก่าแล้วนะครับ เอามาให้ดูเฉยๆ เพราะมีนักวิทยาบางกลุ่มที่คัดค้านเรื่อง ภาวะโลกร้อน บางที่ก็อ้างว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ทรงคุณวุฒิ ผมเลยเอานักวิทยาศาสตร์ที่มี”คุณวุฒิ” จริงๆมาให้ดู

http://www.usatoday.com/tech/science/2006-06-22-hawking-warming_x.htm

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/feed/ 2
รายงานฉบับสอง “ไอพีซีซี” ระบุมนุษย์หลายพันล้านต้องเผชิญผล “ภาวะโลกร้อน” https://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/#respond Sat, 21 Apr 2007 13:46:38 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/ เอเอฟพี/เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ ? “ไอพีซีซี” เปิดรายงาน โลกร้อน ฉบับที่สองระบุปัญหาภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อผู้คนนับพันล้านในทุกทวีปอย่างหนีไม่พ้น โดยผู้ที่ต้องแบกรับภาระหนักที่สุดคือบรรดาประเทศยากจน อีกทั้งยังอาจทำให้สิ่งมีชีวิตเกือบ 1 ใน 3 เสี่ยงสูญพันธุ์ถาวร แนะยืดอายุพีธีสารเกียวโตเพื่อบรรเทาปัญหา พร้อมเผยรายงานฉบับต่อไปเดือนหน้าในกรุงเทพฯ

คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ “ไอพีซีซี” (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ที่ตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แถลงเปิดเผยรายงานการคาดการณ์ฉบับสำคัญ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบแล้วจากสมาชิกกว่า 100 ประเทศ ในวันที่ 6 เม.ย. หลังจากที่ถกเถียงกันมาราธอนอย่างดุเดือดจากผู้ร่วมประชุมนาน 24 ชั่วโมงเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรายงานดังกล่าว ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

ไอพีซีซีชี้ว่า ก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลกระทบต่อระบบลมฟ้าอากาศของโลก ทำให้รูปแบบการเกิดฝนเปลี่ยนแปลง และยังทำให้พายุมีกำลังความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะจะเกิด ปัญหา ภัยแล้ง น้ำท่วม และแหล่งน้ำเหือดแห้ง
ภาพแผนที่โลก แสดงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน
ภาพแผนที่โลก แสดงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน (The New York Times)

ราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธานไอพีซีซีแถลงว่า กลุ่มคนยากจนจะเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากที่สุด และยังจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากผลกระทบของ ภาวะโลกร้อน ฉะนั้น ปัญหานี้จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระดับโลก

ผลกระทบสำคั้ญที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวไอพีซีซี คาดการณ์ว่า สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มากถึง 30% จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ หากว่าอุณหภูมิทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 1.5-2.5 องศาเซลเซียส, ประชาชนในทวีปแอฟริการาว 75-250 ล้านคนจะต้องเผชิญกับการขาดน้ำภายในปี 2020 และไม่เกินปีเดียวกันนี้พื้นที่การเกษตรในแอฟริกาที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก ผลผลิตจะลดลงถึง 50%

ส่วนประเทศทางตอนเหนือก็จะไม่มีธารน้ำแข็งและหิมะปกคลุมอีกต่อไป ส่งผลให้หลายๆ ประเทศที่อาศัยแหล่งน้ำจากธารน้ำแข็งละลายมีปริมาณน้ำลดลง และจะไม่มีทวีปไหนสามารถรอดพ้นจากผลกระทบของ ภาวะโลกร้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิในทวีปนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม

?มีความเป็นไปได้เหลือเกินที่ทุกภูมิภาคจะต้องประสบกับปัญหาผลประโยชน์ต้องเสื่อมเสียลงไป หรือไม่ก็ต้นทุนต้องเพิ่มขึ้นมา จากการที่ระดับอุณหภูมิมีปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 2-3 องศาเมื่อเทียบกับในช่วงปี 1990? เป็นเนื้อหาตอนหนึ่งใน ?บทสรุปสำหรับผู้กำหนดนโยบาย? ในรายงานของไอพีซีซี คราวนี้

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การประชุมตลอดช่วงสัปดาห์นี้ สมาชิกของไอพีซีซีได้มีการถกเถียงกันอย่างหนักถึงเนื้อหาในร่างบทสรุปนี้เอง อีกทั้งกำหนดการเผยแพร่บทสรุปดังกล่าวยังถูกเลื่อนออกไป หลังจากที่สหรัฐฯ จีน และซาอุดีอาระเบียพากันคัดค้านการใช้ถ้อยคำ ?รุนแรง? ในบทสรุป จนถึงขั้นตัวแทนคนหนึ่งออกมากล่าวหาว่า การประชุมที่ควรเป็นการหารือของบรรดานักวิทยาศาสตร์คราวนี้ กำลังถูกการเมืองแทรกแซง

บทสรุปดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายงานฉบับเต็มซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,400 หน้า ที่ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า ผู้คนเป็นจำนวนหลายพันล้านคนจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ และคนอีกกว่าหลายร้อยล้านคนจะต้องประสบกับภาวะหิวโหย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคที่มีแต่ชาติยากจน ซึ่งมีส่วนน้อยที่สุดในการก่อมลพิษจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลอันเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

ผู้แทนที่เข้าประชุมหลายคนเผยว่า ด้วยการยืนกรานของสหรัฐฯ ร่างบทสรุปฉบับนี้จึงถูกตัดทอนย่อหน้าที่ระบุว่า อเมริกาเหนือ ?ได้รับการคาดหมายว่าจะประสบความเสียหายอย่างสาหัส ในด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่น ตลอดจนความแตกสลายแห่งระบบนิเวศอันพอเพียงในตนเอง และความแตกสลายทางสังคมและวัฒนธรรม? นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อีก จากการยืนกรานของซาอุดีอาระเบีย และจีน

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวซึ่งเห็นดีเห็นงามกับการตัดข้อความ ?รุนแรง? จากบทสรุป กล่าวแก้ต่างว่าถึงอย่างไรข้อมูลทั้งหมดก็ยังคงอยู่ในรายงานตัวหลัก และมันยังคงเป็นสารที่ทรงพลังเข้มแข็งมาก

ทว่ารายงานฉบับนี้จะช่วยชี้แนะทางด้านนโยบายแก่รัฐบาลต่างๆ ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการขยายเวลาของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ของยูเอ็นที่ตั้งขึ้นเพื่อลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศและกำลังจะหมดอายุลงในปี 2012

รายงานที่เผยแพร่ในคราวนี้ เป็นส่วนที่สองในการประเมินหลักฐานต่างๆ ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของไอพีซีซีในปีนี้ ซึ่งเป็นการประเมินครั้งแรกในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา

ในส่วนแรกของรายงานซึ่งเผยแพร่ไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น ไอพีซีซีบอกว่า อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้น 0.74 องศาเซลเซียสแล้ว ในรอบร้อยปีที่ผ่านมา และส่วนใหญ่เป็นฝีมือของมนุษย์ ส่วนรายงานฉบับที่สามที่มีเนื้อหาระบุถึงปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ที่เพิ่มขึ้น ความเข้มข้น และวิกฤติของอุณหภูมิ และตามด้วยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นผลสรุปของการค้นพบและคาดการณ์ทุกอย่างจะเปิดเผยในเดือน พ.ย. เป็นการส่งท้ายปี

ทั้งนี้ คณะทำงานเพื่อพิจารณารายงานฉบับที่สามของไอพีซีซีนี้ มีกำหนดการประชุมระหว่างวันที่ 30 เม.ย. – 3 พ.ค. ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ และมีกำหนดจะเปิดเผยรายงานในวันที่ 4 พ.ค.ที่เดียวกัน

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000040515

หมายเหตุ รายงานฉบับนี้ เป็นฉบับเดียวกับใน http://www.whyworldhot.com/global-warming/un-report-on-global-warming/

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/feed/ 0
ความจริง เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/science-in-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/science-in-global-warming/#comments Tue, 10 Apr 2007 09:43:30 +0000 http://www.whyworldhot.com/2007/04/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0%e0%b9%82/ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกของเรามีอุนหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ปัจจุบัน การเผาผลาญเชื้อเพลงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นครับ

  • จำนวนพายุ Hurricane Category 4 และ 5 เพิ่มขึ้นสองเท่า ในสามสิบปีที่ผ่านมา
  • เชื้อมาลาเรียได้แพร่กระจายไปในที่สูงขึ้น แม้แต่ใน Columbian, Andes ที่สูง 7000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
  • น้ำแข็ง ใน ธารน้ำแข็ง เขตกรีนแลนด์ ละลายเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
  • สัตว์ต่างๆ อย่างน้อย 279 สปีชี่ส์กำลังตอบสนองต่อ ภาวะโลกร้อน โดยพยายามย้ายถิ่นที่อยู่

หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่

  • อัตรา ผู้เสียชีวิต จาก โลกร้อน จะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้
  • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต
  • คลื่นความร้อน จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น
  • ภาวะฝนแล้ง และไฟป่าจะเกิดบ่อยขึ้น
  • มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือน้ำแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050
  • สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีชี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

เราทุกคนสามารถช่วยโลกนี้ได้ ก่อนที่เหตุการณ์เหล่านี้จะมาถึง
การเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของคุณเพียงเล็กน้อย สามารถช่วย หยุด ภาวะโลกร้อน ได้

คุณสามารถช่วย แก้ ปัญหาภาวะโลกร้อน ได้ง่ายๆ ที่นี่ครับ

]]>
https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/science-in-global-warming/feed/ 4
ภาวะโลกร้อน คือ ? https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/#comments Thu, 05 Apr 2007 03:12:21 +0000 http://localhost/whyworldhot/?page_id=20 โลกร้อน คืออะไร ?

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่ม ีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ

Greenhouse Effect

ภาพจาก Global Warming Exhibition of National Academy of Science (US)

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี

ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

สำหรับภาพของผลกระทบ จากภาวะโลกร้อน สามารถดูได้จากลิ้งค์ในหน้านี้ครับ http://www.whyworldhot.com/an-inconvenient-truth-global-warming/

ด้านล่างนี้จะเป็นบทความทาง วิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับโลกร้อนครับ

]]>
https://www.whyworldhot.com/what-is-global-warming/feed/ 120
ร่วมแก้ ปัญหาโลกร้อน https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/#comments Thu, 05 Apr 2007 03:11:37 +0000 http://localhost/whyworldhot/?page_id=19 บทความต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาโลกร้อน ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ

]]>
https://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/feed/ 198