ในวันสิ่งแวดล้อมโลก เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.51 ที่ผ่านมานั้น ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมฟังวงเสวนา “ถึงเวลาที่เมืองไทยจะต้องก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” โดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเวทีเป็นคนแรกและกล่าวว่า หากวันนี้สังคมไทยยังไม่ทำอะไรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อไปเราจะอยู่กันอย่างลำบากมาก โดยเฉพาะการเกษตรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมถึงทรัพยากรชายฝั่งที่ถูกทำลาย และการเกิดโรคใหม่ๆ ที่ร้ายแรง
ทั้งนี้ เพื่อการรับมือกับปัญหาอย่างยั่งยืน ควรมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาตั้งแต่วันนี้ เพราะหาไม่แล้ว 4 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะกลับมาล้าหลังอีกครั้ง ซ้ำรอยที่ 6 ปีที่แล้วที่ไม่มีการเตรียมพร้อมเลย ทำให้วันนี้ไทยต้องเจอกับปัญหา
ขณะเดียวกัน ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เสนอว่า นอกเหนือจากปัจจุบันที่มีการจัดทำสินค้าฉลากเขียวแล้ว ต่อไปประเทศไทยควรกำหนดให้สินค้าต้องติดฉลากคาร์บอนด้วย โดยตัวฉลากจะบอกผู้บริโภคถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิต เพื่อให้เกิดการเลือกใช้ ทำให้สินค้าที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมล้มตายไปเอง
เขาเผยอีกว่า อยากให้ภาครัฐมีการทบทวนนโยบายการปลูกพืชพลังงานด้วย เพราะทราบมาว่ามีนโยบายโค่นป่ายางในภาคใต้เพื่อหลีกทางให้การปลูกปาล์มน้ำมัน แล้วส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทน ขณะที่ผลการศึกษาจากองค์การสวนยางพบว่า รากของยางป่ายึดหน้าดินไว้ไม่ให้พังทลาย เหมือนพื้นที่ที่แปรรูปเป็นนากุ้ง
“ผมไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ เพราะการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจะมีผลกระทบประการใด และหากพื้นที่ปลูกเดิมไม่ยอมหลีกทางให้ อาจทำให้เกิดการแผ้วถางป่า และมีผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพตามมาหรือไม่” ศ.ดร.สนิทกล่าว
ต่อมา ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” ว่า ปัจจุบันคนไทยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวประมาณ 4.8 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
แต่เพื่อลดสภาวะวิกฤติเมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสในอีก 30-40 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะต้องลดปริมาณดังกล่าวในอัตราคนละ 3.5 ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 850 ต้น
ดร.ศักดิ์กล่าวอีกว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจึงต้องการส่งเสริม ให้ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำโดยไว แม้ปัจจุบันไทยยังไม่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เหมือนประเทศพัฒนาแล้ว ทว่าก็เป็นการแสดงศักยภาพ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทั้งหมด โดยการขอความร่วมมือให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใส่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวัน ที่พลอยเป็นอานิสงค์แก่ชนรุ่นหลังด้วย
สำหรับการเสวนาวิชาการทั้ง 2 หัวข้อมีขึ้นในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 51 จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง 5-8 มิ.ย.51 ณ ห้องคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ อิมแพค เมืองทองธานี
Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000066099
]]>ในเว็บไซต์ของ Google ประเทศไทยกล่าวว่า
“ในวันนี้ผู้ใช้ Google ในประเทศไทยจะเห็นว่าเรา “ปิดไฟ” ที่หน้าโฮมเพจ Google.co.th เพื่อสร้างการรับรู้ถึงโครงการร่วมประหยัดพลังงานทั่วโลกซึ่งมีชื่อว่า Earth Hour
วัน เสาร์ที่ 29 มีนาคม 2008 นี้ Earth Hour ขอเชิญชวนทุกคนในโลกนี้ปิดไฟเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ 20.00? 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศของตน ในวันนี้ เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น โคเปนเฮเกน ชิคาโก้ เมลเบิร์น ดูไบ และ เทลอาวิฟ จะจัดงานเพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการประหยัดพลังงานของตน
เนื่อง จากบริษัทของเรามีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยสร้างความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและการ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงสนับสนุนแคมเปญ Earth Hour อย่างเต็มที่ และได้ปิดไฟที่โฮมเพจของเราวันนี้เพื่อช่วยสร้างกระแสการรับรู้ให้กับงานที่ เราหวังว่าจะประสบความสำเร็จไปทั่วโลก
ทำไม Google จึงเลือกสนับสนุนองค์กรนี้
เราเชื่อมั่นว่าเราต้องทำหน้าที่เพื่อร่วมต่อสู้กับภาวะโลกร้อน และพบว่า Earth Hour เป็นโครงการที่สำคัญและทันสถานการณ์ นอกจากนี้ เรายังคิดว่าไอเดียในการ ?ปิดไฟ? เป็นสิ่งที่ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมได้ สั้นๆ ก็คือ เราชอบ ก็เลยทำอะไรสักอย่างขึ้นมา
ทำไม Google จึงไม่เปลี่ยนหน้าโฮมเพจเป็นสีดำตลอดไป
เรามุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนโดยกระตุ้นให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่หลักฐานที่เรามีอยู่ปัจจุบัน (http://googleblog.blogspot.com/2007/08/is-black-new-green.html) แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนพื้นหลังให้เป็นสีดำอย่างถาวรนั้นไม่เป็นประโยชน์ ต่อสิ่งแวดล้อมหรือต่อผุ้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม เราพยายามมองหาวิธีที่จะปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ให้ดีขึ้นอยู่ เสมอ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการวิจัยค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เราก็อาจจะเปลี่ยนใจในเรื่องนี้
ฉันจะทำอย่างไรเพื่อให้ Google ทำแบบนี้กับองค์กรหรือโครงการของฉันบ้าง
เรายินดีต้อนรับไอเดียต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีที่เราจะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น แม้ว่าเราจะไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะแสดงบนหน้าโฮมเพจ Google หรือตอบสนองทุกคำค้นหา แต่เราอ่านอีเมลทุกฉบับที่ได้รับและอยากฟังความเห็นจากคุณว่าเราควรร่วมมือ กับองค์กรใดบ้าง หากต้องการส่งข้อเสนอมาให้เรา กรุณาส่งมาที่ [email protected]
”
จาก http://www.google.co.th/intl/th_th/earthhour/
โดยนายอภิรักษ์ กล่าวว่า กทม.ในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทย มีประชากรอยู่ 10 กว่า ล้านคน ซึ่งมีการใช้พลังงานค่อนข้างมาก ไม่น้อยไปกว่าเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ดังนั้น กทม.จึงได้ร่วมกับ WWF และเครือข่ายพันธมิตรร่วมกันรณรงค์ลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยในปีนี้ กทม. และเมืองใหญ่ อีก 23 แห่งทั่วโลก ได้แก่ ซิดนีย์ เพิทธ์ เมลเบินน์ แคนเบอร่า บริสเบน อดาเลด โคเปนเฮเก้น อาฮุส อาเบิก โอเดนส์ มะนิลา ซูวา ชิคาโก เทลอาวีฟ โตรอนโต ไครส์เซิซ แอลแลนต้า ซานฟรานซิสโก ฟีนิกซ์ ออตตาวา แวนคูเวอร์ มอนทรีออล และดับบลิน จะร่วมกันปิดไฟ ในวันเสาร์ที 29 มี.ค.นี้ เวลา 20.00-21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง ทั้งนี้ กทม.กำหนดจัดกิจกรรมที่บริเวณลานเอนกประสงค์ห้าง Central World ถ.ราชประสงค์
นายอภิรักษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ กทม. ยังจะรณรงค์ให้ประชาชนเจ้าของอาคาร บ้านพักกลุ่มธุรกิจ สถานที่ราชการ ร่วมกันดับไฟเฉพาะดวงที่ไม่จำเป็นบนถนน 8 สาย ประกอบด้วย เพชรบุรี เยาวราช รัชดาภิเษก ข้าวสาร ราชดำริ ราชดำเนิน สุขุมวิท และสีลม ส่วนไฟถนนเส้นหลักจะยังคงเปิด ตามปกติเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งนี้จะจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและเทศกิจคอยดูแลเรื่องความปลอดภัย
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสดการจัดกิจกรรมดังกล่าวไปยังทั่วประเทศ ซึ่งภายหลังปิดไฟแล้ว กทม.จะประกาศการลดปริมาณการใช้พลังงานที่ กทม.ทำได้ ซึ่งครั้งนี้ กทม.ตั้ง เป้าลดการใช้พลังงานจากการปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งเป็นปริมาณการลดใช้ พลังงานจากการรณรงค์ปิดไฟ 15 นาที ที่ กทม.ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ปีที่แล้ว
จาก : http://www.innnews.co.th/social.php?nid=92925
]]>ดร.เบนจามิน ฮัลเพิร์น (Dr Benjamin Halpern) จากศูนย์วิเคราะห์และสังเคราะห์นิเวศวิทยาแห่งสหรัฐฯ ในซานตา บาร์บารา (National Center for Ecological Analysis and Synthesis in Santa Barbara) ซึ่งเป็นหัวหน้าในการทำแผนที่โลกแสดงผลกระทบต่อมหาสมุทรอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์นี้กล่าวว่า มนุษย์ได้สร้างผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อมหาสมุทรและระบบนิเวศที่อยู่ภายใต้ทะเล
ภาพแผนที่โลกนี้แสดงให้เห็นว่า 41% ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ 17 รายงานซึ่งสัดส่วนที่มากกว่าที่เคยคิดกัน และเพียง 4% ที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย โดยแผนที่ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์จากสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และแคนาดานี้เป็นครั้งแรกที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของมนุษย์ในด้านต่างๆ ที่กระทบต่อมหาสมุทร และยังได้ตรวจสอบตัวบ่งชี้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่รวมถึงแนวปะการัง แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ดงสาหร่ายและคุณภาพน้ำ
จากการศึกษาพบว่าทั้งการประมง มลพิษ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดจากมนุษย์ได้ทำให้เกิดผลเสียหายอย่างหนักต่อมหามสมุทรเกือบครึ่ง ขณะที่พื้นที่น้ำแข็งซึ่งอยู่ใกล้ขั้วโลกนั้นยังบริสุทธิ์อยู่ แต่ก็กำลังเผชิญการคุกคามจากแผ่นน้ำแข็งละลาย ซึ่งข้อมูลนี้ทีมวิจัยระบุว่าเป็น “เสียงปลุก” สำหรับผู้กำหนดนโยบาย
“ในอดีตนั้นการศึกษาส่วนใหญ่แสดงให้เห็นผลกระทบจากกิจกรรมเดี่ยวๆ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เราได้สร้างแผนที่โลกซึ่งแสดงถึงกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายเรียงซ้อนกันหลายชั้น เราจึงได้ภาพใหญ่ของผลกระทบทั้งหมดที่มนุษย์ได้ทำมากกว่าแค่ผลเสียจากเรื่องเดียว” ดร.ฮัลเพิร์นกล่าว
ด้าน ดร.มาร์ก สปอลดิง (Dr.Mark Spalding) ซึ่งร่วมในการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า แผนที่นี้เป็นการทดลองครั้งแรกที่จะอธิบายและแสดงปริมาณถึงสิ่งที่มหาสมุทรทั่วโลกต้องเผชิญจากปัจจัยอันเนื่องจากมนุษย์ ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การขนส่งทางเรือเชิงพาณิชย์ไปจนถึงการทำประมงเกินพอดี
“มีปัจจัยสำคัญที่จะปลุกคุณให้ตื่นเมื่อเห็นแผนที่ลักษณะนี้ เพราะมนุษย์ได้คุกคามมหาสมุทรไปทั่วโลก แผนที่นี้จะกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งผมคิดว่าเป็นสัญญาณจริงที่จะเริมต้นลงมือจัดการชายฝั่งและมหาสมุทรของเราเสียที” ดร.สปอลดิงกล่าว
ในการทำแผนที่นี้ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติราว 20 คนได้แบ่งพื้นที่มหาสมุทรออกเป็นตารางกิโลเมตรเพื่อสร้างแบบจำลองอันซับซ้อนโดยพิจารณาข้อมูลจริงที่หาได้เกี่ยวกับอิทธิพลของมนุษย์จากกิจกรรมต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยได้คำนวณ “คะแนนผลกระทบจากมนุษย์” สำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นแผนที่ของความเสียหายที่มนุษย์ทำให้เกิดแก่ทะเลจริงๆ และบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างตกตะลึงกับผลลพธ์ของแบบจำลองนี้ แต่พวกเขาก็หวังว่าแผนที่นี้จะถูกนำไปใช้เพื่อความพยายามอนุรักษ์ทะเลในลำดับต้นๆ
“ผมว่าสิ่งน่าอัศจรรย์ใจที่สำคัญของแผนที่นี้คือการได้เห็นผลกระทบจากมนุษย์ที่ครอบคลุมทุกเรื่องอย่างสมบูรณ์ ไม่มีที่ไหนเลยที่รอดพ้นมนุษย์ไปได้ ช่างเป็นแผนที่ช็อคความรู้สึกเมื่อได้เห็น” คำกล่าวของ ดร.สปอลดิงซึ่งนำการวิจัยครั้งนี้และยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลอาวุโสของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติสากล “เนเจอร์ คอนเซอร์แวนซี” (The Nature Conservancy) โดยเขายังระบุอีกว่าปัจจัยใหญ่ในการทำลายถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตทางทะเลคือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและการทำประมงเกินพอดี
ด้าน แอนดรูว โรเซนเบิร์ก (Andrew Rosenberg) ศาสตราจารย์ด้านทรัพยากรธรรมชาติจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมป์เชียร์ (University of New Hampshire) สหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้ร่วมในการศึกษาครั้งนี้ด้วยกล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายต้องไม่มองว่าการประมงและมลพิษเป็นเรื่องที่แยกจากกันอีกต่อไป โดยผลกระทบจากมนุษย์นี้เป็นเรื่องที่ซ้อนทับกันระหว่างพื้นที่และเวลา ซึ่งเมือ่นานไปในหลายกรณีจะขยายผลจนเพิ่มความน่ากลัวอย่างสูง
“ข้อความถึงผู้กำหนดนโยบายค่อนข้างชัดเจนสำหรับผม ปฏิบัติการอนุรักษ์ธรรมชาติที่ตัดตอนผลกระทบจากการกระทำอันครบชุดของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก” โรเซนเบิร์กกล่าว
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000020910
]]>พิธีสารเกียวโต คือข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะให้ความร่วมมือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตหลักของภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงประเทศเดียว ที่ไม่ลงนามในพิธีสารนี้
ภาพ Greg Wood/AFP
http://news.nationalgeographic.com/news/2007/12/071203-AP-aus-kyoto.html
]]>เอเอฟพี / เอพี ? เหล่าผู้แทนและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมการประชุมโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุด โดยยูเอ็นโต้โผใหญ่หวังเกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว และสร้างสนธิสัญญาสากลใหม่เพื่อต่อสู้กับภัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2552
ผู้ร่วมประชุมจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก บวกกับนักรณรงค์และผู้สื่อข่าว รวมแล้วกว่า 10,000 คนตอนนี้ กำลังรวมตัวอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และพวกเขาจะตั้งหลักอยู่นั่นถึง 11 วัน เพื่อร่วมการประชุมสหประชาชาติภายใต้กรอบอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค.50
การประชุมที่บาหลีในครั้งนี้ นับเป็นสุดยอดแห่งความร่วมมือในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ โดยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นสรุปสุดยอดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ก็จะมีการเปิดเผยกันในที่ประชุมแห่งนี้ พร้อมกับผลสรุปที่ว่าโลกเรามีเทคโนโลยีดีพอที่จะชะลอสภาวะโลกร้อน (global warming) แต่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วน
จุดหมายที่เร่งด่วนจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือการเจรจาต่อรอเพื่อตั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นแทนที่พีธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2555 โดยจะต้องกำหนดวาระและเส้นตาย ซึ่งสหประชาชาติเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวจะต้องสรุปให้ได้ภายในปี 2552 จึงจะใช้งานต่อเนื่องจากพิธีสารเกียวโตได้ทันการณ์
อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาก็เป็นชาติที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษเช่นเคย และการปฏิเสธเข้าร่วมพิธีสารเกียวโตของพญาอินทรี อาจทำให้ถูกตัดออกจากการเจรจาสัญญาต่อจากนี้ ซึ่งอเมริกายังคงอ้างเช่นเดิมว่าการลดปริมาณการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกตามข้อตกลงในพิธีสารนั้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังตั้งคำถามต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอปรากฏการณ์โลกร้อน
ทั้งนี้ หัวข้อถกเถียงส่วนใหญ่คือประเด็นการลดการปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกจะมากน้อยเท่าใดนั้นควรมีมาตรการบังคับ (อย่างในพิธีสาร) หรือตามความสมัครใจ (อย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ) และควรจะหมายรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่มีอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างจีน อินเดีย และบราซิล รวมเข้าไปด้วย อีกทั้งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือประเทศยากจนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้
ข้อมูลจากรายงานของไอพีพีซี ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก แนะนำว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนจนก่อสภาวะเรือนกระจกจะต้องมีการปลดปล่อยในปริมาณที่เสถียรภายในปี 2558 และจากนั้นหากลดลงไม่ได้ก็จะเกิดภาวะที่ร้ายแรง
การแก้ปัญหาที่ทำได้ในขณะนี้ตามข้อแนะนำของไอพีซีซีคือ ลงทุนกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ (ซึ่งมากถึง 1 ใน 3) และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
ทว่าทั้งหมดนี้ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของแต่ละประเทศเข้าช่วย
ตลอดระยะเวลาแห่งการประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน รัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่จะต่อรองความร่วมมือต่างๆ ตรงกันข้ามกับพิธีสารตลอดมา ทั้งๆ ที่ยูเอ็นต้องการให้พญาอินทรีให้ความร่วมมือ และการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ เป็นวงใหญ่เมื่อดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลของออสเตรเลียที่มีนายจอห์น โฮเวิร์ดเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ในการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องโดดเดี่ยว เพราะเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของออสเตรเลีย ที่เพิ่งสาบานตนรับตำแหน่งไปไม่กี่วัน นอกจากจะประกาศแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมพิธีสารเกียวโตแล้ว ในวันแรกของการประชุมที่บาหลี ผู้แทนของออสเตรเลียได้ลงนามในพิธีสารเป็นที่เรียบร้อย
พิธีสารเกียวโตเป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศที่ลงนามมากว่า 10 ปี โดยเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรม 36 ชาติลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซก่อเรือนกระจกอื่นๆ ที่มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งเกษตรกรรมและการคมนาคมให้ได้ภายในปี 2555 โดยเฉลี่ย 5% จากระดับในปี 2533
]]>ดร.อานนท์ กล่าวถึง การเกิดฝนลูกเห็บบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศว่า คนเข้าใจว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน ซึ่งหากพิจาณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้อง แต่ไม่โดยตรงเพราะฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อน ที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับ มวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็ง ตกลงมาเป็นฝนลูกเห็บ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีจึงจะ สรุปได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ กรุงเทพฯมีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน เพราะช่วงนี้พายุฤดูร้อน เข้ามาภาคกลาง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่า ช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ
From: http://www.efe.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=505&Itemid=43
ดร.กอปร กฤตยากีรณ ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์แล้เทคโนโลยี และประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กล่าวถึงภาพลักษณ์ในเชิงอาวุธทำลายร้ายสูงของนิวเคลียร์ซึ่งยังติดอยู่ในใจของคนไทยว่า แม้การทำระเบิดปรมาณู และการผลิตกระแสไฟฟ้าต่างใช้ธาตุกัมมันตภาพรังสีคือ ?ยูเรเนียม? เป็นเชื้อเพลิงเช่นเดียวกันจริง ทว่าความจริงแล้วกลับมีความเข้มข้นของสารต่างกันมาก
?การใช้ในเชิงพลังงานไม่ได้นำธาตุยูเรเนียมมาวางใกล้ๆ กันมาก จนทำให้เกิดการระเบิดได้ แต่เพื่อให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคยูเรเนียม และคายความร้อนออกมาต้มน้ำให้เดือดและได้ไอน้ำไปปั่นกระแสไฟฟ้าตามหลักการของโรงไฟฟ้าทั่วๆ ไปเท่านั้น? ที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว
ดร.กอปร อ้างสถิติด้วยว่า ในต่างประเทศมีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีมีวิวัฒนาการและระบบความปลอดภัยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเรียกว่ามีความปลอดภัยมากที่สุดก็ว่าได้ โดยพบอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงจริงๆ เพียง 2 ครั้งเท่านั้นคือ ที่เชอร์โนบิลของสหภาพโซเวียต และเกาะทรีไมล์ไอส์แลนด์ของสหรัฐอเมริกา อันทำให้เกิดผู้เสียชีวิตเพียงหลักร้อยคนเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต่างก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้นแล้ว อาทิ เครื่องบิน และรถยนต์ จะพบได้ว่าต่างมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก
?เทคโนโลยีใหม่ๆ ตอนนี้มีการพูดกันแล้วว่า หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น แค่เพียงวิศวกรโยกสวิตซ์แค่ตัวเดียวก็เดินออกมาจากโรงงานได้เลย เพราะมันจะปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ ไม่มีการหลอมละลายหรือการระเบิดตามมา? ดร.กอปร กล่าว และก็ยอมรับว่ามีขอบเขตของผลกระทบจะครอบคุลมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างหากเกิดการรั่วไหลจริง
?หากมีการรั่วไหลขึ้นมาย่อมส่งผลถึงกันทั่วโลกไม่จำกัดแค่ที่ใดที่หนึ่ง พูดกันจริงๆ แล้วทุกประเทศถือเป็นหลังบ้านของกันและกันหมดในแง่ของพลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ใช้? ดร.กอปร กล่าวซึ่งตีความได้ว่า ถึงแม้จะไม่เกิดการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีที่มีสาเหตุในประเทศไทยๆ ก็ไม่อาจหนีพ้นผลกระทบจากการรั่วไหลในที่อื่นๆ ได้เช่นกัน
สำหรับฝ่ายทำงานการเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมี ดร.กอปร เป็นประธานคณะกรรมการนั้น ประกอบด้วยชุดทำงาน 6 ขณะคือ ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ด้านการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ ด้านการคุ้มครองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านการสื่อสารและการยอมรับของสาธารณะ และสุดท้ายคือ ด้านการเตรียมการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยแบ่งช่วงเวลาเป็น 7 ปีแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อม และ 6 ปีหลังเริ่มการก่อสร้าง
?เรื่องของเทคโนโลยีและกำลังคน ไทยเรายังมีเวลาอีก 10 กว่าปีที่สามารถส่งคนไปศึกษาเตรียมความพร้อม ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ก็จะเข้ามาช่วย ตลอดจนมีหลักสูตรการผลิตคนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งในระยะยาวเราจะต้องยืนบนขาตัวเองให้ได้? ดร.กอปร ย้ำ
ส่วนสถานการณ์พลังงานของไทยในปัจจุบัน นายชวลิต พิชาลัย รอง ผอ.สำนักนโยบายและพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ให้รายละเอียดว่า มีการพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมากที่สุดราว 70% รองลงมาคือถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง 13% พลังงานน้ำเช่นจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ประมาณ 5% น้ำมันเตา 2 -3% ส่วนพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น ชีวมวล ลม ขยะ และพลังงานแสงอาทิตย์มีสัดส่วนเพียง 2%
ขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 500 เมกกะวัตต์ โดยเร็วๆ นี้จะมีบันทึกข้อตกลงเพิ่มจาก 3,000 เมกะวัตต์เป็น 5,000 เมกะวัตต์ และกำลังทำบันทึกข้อตกลงซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพม่าในระยะแรก 1,500 เมกกะวัตต์
นอกจากนี้ยังจะซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนานของประเทศจีนอีก 3,000 เมกกะวัตต์ เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น 1,200 -1,500 เมกกะวัตต์ ซึ่งคิดตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 4 -5% ขณะที่พลังงานทางเลือกก็จะไม่สามารถขยายได้จนเพียงพอต่อความต้องการได้
ทั้งนี้ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ได้กำหนดให้มีส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ขึ้น 2,000 เมกกะวัตต์ในปี 2563 และอีก 2,000 เมกกะวัตต์ในปีถัดไป รวมแล้วใน 13 – 14 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังการผลิต 1,000 เมกกะวัตต์จำนวน 4 โรงด้วยกัน
?ก๊าซธรรมชาติของไทยเราจะใช้ได้เต็มที่ไม่เกิน 30 ปี จึงมีการกำหนดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในแผนด้วย พร้อมๆ กับพลังงานทดแทนอื่นๆ แต่แล้วก็ล้วนแต่มีต้นทุนการผลิตสูงเกินไป ยกตัวอย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่อหน่วยถึงประมาณ 15 บาท ขณะที่ไฟบ้านที่ใช้กันทุกวันนี้มีต้นทุน 2 บาท/หน่วย? รอง ผอ.สนพ.กล่าว
นายชวลิต บอกด้วยว่า หากคำนวณโดยรวมค่าก่อสร้างโรงงาน เชื้อเพลิง และการกำจัดกากเชื้อเพลิงแล้ว ไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะมีราคาต่ำที่สุดคือ 2.01 บาท/หน่วยเท่านั้น
ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆ ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มของไทย นายชวลิต ชี้ว่า คือการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากต่างชาติ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม ซึ่งจะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ติดตามมา และยังเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ซึ่งเวลานี้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุน 2.08 บาท/หน่วย โดยยังไม่รวมค่าการจัดการคาร์บอน
?สิ่งที่ต้องเร่งทำในขณะนี้คือการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่อาจต้องพบกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอีก 13 ปีข้างหน้า โดยการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งในรูปเอกสารและรายการให้ความรู้ประชาชน? นายชวลิต อธิบาย
อย่างไรก็ตาม ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ร่วมรายการอีกรายหนึ่งซึ่งต่อสายสนทนาทางโทรศัพท์ ตั้งข้อสังเกตในมุมกลับบ้างว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจไม่ได้มีความคุ้มทุนและมีความปลอดภัยจริงดังอ้างก็ได้
ข้อสังเกตที่น่าสนใจเช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจนำมาซึ่งปัญหางบประมาณก่อสร้างบานปลายจากอัตราดอกเบี้ยจำนวนมากดังที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ แต่หากยืนยันทำจริงก็ต้องเปิดกว้างให้ประชาชนได้รับรู้และต้องทำให้ระบุตัวผู้รับผิดชอบได้ด้วย
นอกจากนั้นในช่วงปี 2543 เป็นต้นมาทั่วโลกต่างชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปมาก เหลือเพียงประมาณ 5 โรง/ปีเท่านั้น เนื่องจากความเกรงกลัวต่อการเกิดอุบัติเหตุเหมือนในอดีต และการเปิดเสรีด้านพลังงานในยุโรปตะวันตก ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์มีต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยจากปี 2543 เป็นต้นมา ทั่วโลกเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เฉลี่ยถึงปีละ 1 ครั้งเลยทีเดียว
?นอกจากนั้น เมื่อพูดเรื่องการกำจัดกาก ซึ่งรัฐบาลบอกว่าจะเก็บในเหมืองแร่โปแตสฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ต้องมีการรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ว่าจะเห็นด้วยไหม ซึ่งแม้แต่นายโมฮัมหมัด เอลบาราเด ผอ.ไอเออีเอ ยังยอมรับว่าพลังงานนิวเคลียร์ไม่ปลอดภัย 100% เพียงแต่มีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยงใช้เท่านั้น? ดร.เดชรัต ย้ำ
ด้าน ดร.กอปร ปฏิเสธข้อสังเกตนี้ว่า ไม่คิดว่ารัฐบาลจะเลือกใช้พื้นที่เหมืองแร่โปแตสเซียมเป็นที่เก็บกากเชื้อเพลิงจริง ส่วนเรื่องการกำจัดกากเชื้อเพลิงก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหรือน่ากังวลอย่างที่คิดกันด้วย
?ญี่ปุ่นเป็นปะเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาแล้ว 50 ปี แต่เพิ่งมีโรงเก็บกากเชื้อเพลิงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งกากเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วสามารถนำไปเก็บไว้ในบ่อพัก ซึ่งมีน้ำหล่ออยู่ข้างๆ เตาปฏิกรณ์ได้นาน 3 -10 ปีเพื่อให้รังสีอ่อนตัวลง จากนั้นจึงค่อยย้ายเก็บไปไว้ในบ่อพักภายในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ต้องมีบ่อพักที่อื่น ซึ่งเรามีเวลาเก็บได้ถึง 50 ปี? ประธานคณะกรรมการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ระบุ
สุดท้ายนี้ ดร.กอปร แจกแจงเพิ่มว่า ขณะนี้ทั่วโลกได้มีใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วทั้งสิ้น 437 โรงใน 31 ประเทศ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 30 โรง อนุมัติแผนและงบประมาณแล้ว 74 โรง โดยใน 15 ปีข้างหน้าจะมีข้อเสนอก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีกกว่า 200 แห่งทำให้มียอดรวมเป็นอีกเท่าตัวของปัจจุบัน เนื่องจากเหตุผล 3 ประการ คือ ราคาพลังงานปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้น 3 เท่า
ในเวลาเดียวกันยังมีการรณรงค์ลดภาวะเรือนกระจก ซึ่งมีความกังวลกันว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า พิธีสารเกียวโตจะหมดอายุ ทำให้ต้องออกกฎใหม่ซึ่งอาจมีความเข้มงวดด้านการจัดการคาร์บอนมากขึ้น ตลอดจนเทคโนโลยีที่ปลอดภัยมากขึ้นอันจะช่วยลดรายจ่ายด้านระบบความปลอดภัยลงได้อีกส่วนหนึ่ง ทำให้ต้นทุนพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ไม่มีความคุ้มทุนดังที่ ดร.เดชรัต อ้าง
?ข้อมูลของ ดร.เดชรัต อาจจะล่าช้าไปสัก 5 ปี จริงอยู่ที่เคยมีการชะลอตัวลงหลังการเกิดอุบัติเหตุที่ทรีไมล์ไอส์แลนด์ช่วงปี 2523 และเวลานั้นยังมีตัวเลือกด้านพลังงานอื่นๆ อยู่ด้วย แต่ในช่วง 3 -5 ปีมานี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มกลับมานิยมอีกครั้ง เพราะมีต้นทุนเทคโนโลยีถูกลงขณะที่ยังปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้มีข้อมูลอ้างอิงเป็นประเทศๆ ได้เลย? ดร.กอปร กล่าวในที่สุด
Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000100128
]]>ขณะที่ “อภิรักษ์” สนองพระราชดำรัส เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ชุมชนโดยตรงด้วย ด้านกรมชลฯ น้อมรับ เร่งบูรณาการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริ พร้อมเปิดบริการเอสเอ็มเอสรายงานสถานการณ์น้ำผ่านมือถือทุกระบบฟรี เริ่ม 23 ก.ค.นี้
หลังจากที่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหา ภาวะโลกร้อน ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งหาหนทางแก้ไขเพื่อให้โลกไม่ต้องประสบกับภาวะอากาศที่แปรปรวนจากปัญหาดังกล่าว ในส่วนของประเทศไทยก็มิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหา ภาวะโลกร้อน เช่นกัน ล่าสุดด้วยความเป็นห่วงใยต่อพสกนิกรที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงสนพระราชหฤทัย และทรงห่วงใยต่อ สถานการณ์โลกร้อน รวมถึงสถานการณ์น้ำเป็นพิเศษ
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยและห่วงใยต่อ สถานการณ์โลกร้อน รวมถึงสถานการณ์น้ำ โดยกรมชลประทานได้กราบบังคมทูลถวายรายงานอย่างต่อเนื่องทุกวัน และช่วงที่วิกฤติมากๆ ก็จะกราบบังคมทูลหลายครั้งต่อวัน นอกจากนี้หน่วยงานองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ทราบดีว่าทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงาน เอกสาร ข้อมูลต่างๆ เป็นจำนวนมากเช่นกัน ส่วนเรื่อง ภาวะโลกร้อน ที่ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ คือ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การแปรปรวนของภาวะอากาศ เป็นต้น
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า ในส่วนการดำเนินการของกรมชลฯ ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะแนวพระราชดำริที่พระราชทานภายหลังสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งเน้นด้านการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ทรงให้ตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยปีนี้ได้ปรับการทำงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาบูรณาการข้อมูลร่วมกันอย่างต่อเนื่องแล้ว หรือกรณีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก็ยังอยู่ระหว่างการศึกษา
นายสามารถ กล่าวถึงแนวพระราชดำริต่างๆ ว่า พระองค์จะทรงย้ำเสมอว่า เป็นแนวหลักการคิดเท่านั้น ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหลักการทางวิทยาศาสตร์ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และผลกระทบต่อประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นคำสั่งแต่อย่างใด ส่วนกรณีปัญหาความขัดแย้งของประชาชนในโครงการต่างๆ ทรงย้ำให้ดำเนินการแก้ปัญหา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาขัดแย้งเหล่านั้นให้เสร็จสิ้นก่อนจะเริ่มดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ประมาณวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ กรมชลฯ จะเปิดให้บริการแจ้งข่าวสถานการณ์น้ำผ่านข้อความสั้นทงโทรศัพท์เคลื่อน หรือ เอสเอ็มเอส ในระบบเอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ เพื่อให้ประชาชนรับทราบข่าวล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ และสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำของแต่ละพื้นที่อย่างเฉพาะเจาะจง โดยไม่คิดค่าบริการจากประชาชน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ โดยให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำของกรมชลฯ เรียบเรียงข้อความ คำศัพท์ชลประทานให้อยู่ในรูปแบบที่สั้นกระชับ ชัดเจน ไม่เกิน 200 ตัวอักษร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจง่าย
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 17.00 น.ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีรังสิต นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวลด โลกร้อน และรณรงค์โครงการ “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง”
ทั้งนี้ นายอภิรักษ์ ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีกระแสพระราชดำรัสห่วงใย ภาวะโลกร้อน และให้เน้นรณรงค์ความร่วมมือกับชุมชนให้มากที่สุดว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยใน ภาวะโลกร้อน ที่ผ่านมาพระองค์พระราชทานหลักการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และ กทม.ก็น้อมรับมาปฏิบัติ โดยขอความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป แต่นอกเหนือจากนั้น หลังจากที่มีกระแสพระราชดำรัส กทม.จะเน้นลงไปให้ความรู้แก่ชุมชนโดยตรงด้วย เพื่อขยายผลการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากนี้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนต่างตระหนักและตื่นตัวมากขึ้นต่อการแก้ไขปัญหา ภาวะโลกร้อน
นายอภิรักษ์ กล่าวต่อว่า การจัดงาน “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง” นับเป็นครั้งที่ 3 เพื่อรณรงค์กิจกรรมลด ภาวะโลกร้อน ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน โดยครั้งนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงาน ด้วยการดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่เติมน้ำมัน หรือจอดรถ ซึ่งข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า กทม.มีจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนจำนวน 505 ล้านคัน แบ่งเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล 1.3 ล้านคัน รถเครื่องยนต์เบนซิน 4.23 ล้านคัน มีสถิติการใช้น้ำมันเบนซิน 5,935 ล้านลิตรต่อปี และน้ำมันดีเซล 18,315 ล้านลิตรต่อปี หากรถยนต์ 1 คัน ดับเครื่องยนต์ 5 นาที จะช่วยประหยัดน้ำมันถึง 100 ซีซี หรือ 0.1 ลิตร ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.13 กิโลกรัม หากรถยนต์ทุกคันดับเครื่องยนต์ 5 นาที สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 715 ตันต่อวัน หรือ 260,975 ตันต่อปี ประหยัดน้ำมัน 5.5 แสนลิตร ประหยัดค่าใช้จ่าย 5,621 ล้านบาทต่อปี (น้ำมันลิตรละ 28 บาท)
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า หลังจากรณรงค์ “ไม่ขับ ช่วยดับเครื่อง” โดยนำร่องที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท.สาขาเพื่อสวัสดิการ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีรังสิตแล้ว จากนั้นจะขยายผลไปยังปั๊มน้ำมันทุกแห่งทั้ง 50 เขตทั่ว กทม. ทั้งนี้ กทม.ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 12 ล้านตันต่อปี จากเดิม 82 ล้านตันต่อปี ให้เหลือ 70 ล้านตันต่อปี
(จาก http://www.komchadluek.net/2007/07/10/a001_126409.php?news_id=126409 )
]]>อาร์เจนฯตื่นหิมะตกครั้งแรกเกือบศตวรรษ
บัวโนสไอเรส (เอพี/เอเอฟพี) ? ชาวอาร์เจนตินานับพันตื่นเต้นสุดขีดหลังเห็นหิมะใน เมืองหลวงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 90 ปี วันที่ 10 ก.ค. มีรายงานว่า ชาวอาร์เจนตินาหลายพันคนต่างส่งเสียงร้องแสดงความยินดี และเล่นขว้างปาหิมะกันอย่างสนุกสนาน บนถนนของกรุงบัวโนสไอเรส ระหว่างที่มีหิมะ ตกหนักเป็นครั้งแรกในรอบ 89 ปี ยังผลให้มีกองหิมะสีขาวบางๆ ปกคลุมไปทั่วภูมิภาค
ทั้งนี้ หิมะได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องเป็น เวลาหลายชั่วโมงในวันจันทร์ หลังจาก มวลอากาศเย็น จัดที่พัดมาจาก ทวีปแอนตาร์กติกา เผชิญกับมวลความชื้นจาก แรงกดอากาศต่ำ ซึ่งปกคลุมพื้นที่สูงทางตะวันตกและทางตอนกลางของ อาร์เจนตินา
?ตลอดชีวิตที่ผ่านมา นี่เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นหิมะใน บัวโนสไอเรส? จูอานา เบนิเตซ วัย 82 ปี ซึ่งมาร่วมกับเด็กๆ เพื่อฉลองหิมะตก ในครั้งนี้ด้วย กล่าว
สำนักพยากรณ์อากาศแห่งชาติ อาร์เจนตินา ระบุว่า หิมะตก ครั้งนี้เป็น หิมะตก ครั้งใหญ่ครั้งแรกใน กรุงบัวโนสไอเรส นับแต่วันที่ 22 มิ.ย. ปี 2461 แม้ว่าจะเคยมี ฝนลูกเห็บ และ ฝนที่มีความเย็นจัด ตกลงมาหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดยชิลี และเปรูต่างเผชิญกับมวลอากาศเย็นเช่นกัน และนักพยากรณ์อากาศคาดว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะเริ่มดีขึ้นในวันพุธนี้
วันเดียวกันมีรายงานว่า ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐกำลังเผชิญคลื่นความร้อน โดยที่วอชิงตัน ดี.ซี. และนิวยอร์ก วัดอุณหภูมิได้ถึง 36 และ 32 องศาเซลเซียส ตามลำดับ
http://news.bbc.co.uk/1/hi/in_pictures/6288410.stm
http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=inter&id=177916
]]>