ภาวะโลกร้อน – Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน https://www.whyworldhot.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน รวมทั้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน และ วิธีในการแก้ไขปัญหา โลกร้อน Tue, 18 May 2010 13:34:04 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.8.24 น้ำท่วม – ฝนแล้ง ผลกระทบโลกร้อน https://www.whyworldhot.com/global-warming-effect/drought-and-flood-from-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/global-warming-effect/drought-and-flood-from-global-warming/#comments Tue, 09 Oct 2007 12:24:06 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/drought-and-flood-from-global-warming/ ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภูมิอากาศในปัจจุบัน ทำให้ฤดูกาลต่างๆผิดเพี้ยน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หน้าแล้งยาวนานขึ้น หน้าฝนก็ตกหนักจนท่วม สิ่งเหล่านี้แปรปรวนไปเพราะภาวะโลกร้อนเป็นหลัก

เนื่องจากอุณหภูมิบนพื้นโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำในมหาสมุทรและพื้นดินระเหยไปสะสมเป็นเมฆมากขึ้น ลมพายุได้นำพาเมฆเหล่านี้เข้าสู่พื้นดิน และกลั่นตัวตกลงมาเป็นฝนตกหนัก น้ำท่วมเฉียบพลันในพื้นที่นั้นๆ เช่นน้ำท่วมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ หรือน้ำท่วมใหญ่ในจีนที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน


ภาพน้ำท่วมในจีน มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน

อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนกลับทำให้บางพื้นที่แห้งแล้งหนัก เนื่องจากฝนไม่ตกในพื้นที่นั้นอย่างที่ควรจะเป็น แต่ไปตกหนักจนเป็นน้ำท่วมในพื้นที่อื่น
ตัวอย่างเช่นแถบแอฟริกา ทะเลสาบ Chad Lake เคยเป็นหนึ่งในทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 4 ประเทศ แต่ปัจจุบันกลับแห้งเหือดไปหมด นี่คือผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่น่าตกใจ


ทะเลสาบ Chad Lake ที่กลายเป็นเพียงอดีต

ป่าอะเมซอน ปัจจุบันคือผืนป่าดิบชื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเริ่มประสบปัญหาแล้ง จากภาวะโลกร้อน


พื้นที่เช่นแอฟริกา ไซบีเรีย มองโกเลีย ประสบกับความแห้งแล้งอย่างหนัก โดยปกติ พื้นที่ในที่มีป่าจะมีน้ำมาก เนื่องจากมีไอน้ำในอากาศจากการคายน้ำของพืชมาก แต่เมื่อไม่มีน้ำฝน พืชก็ค่อยๆตายลง ทำให้บริเวณนั้นแห้งแล้งยิ่งขึ้น ป่าที่มีความชื้นต่ำและมีอุณหภูมิสูง ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าได้มากขึ้น ดังเช่น ไฟป่าในอินโดเนเซีย ออสเตรเลีย อเมริกา หรืออะเมซอน ที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ไฟป่ายังเป็นปัจจัยที่ยิ่งเร่งภาวะโลกร้อนให้รุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากปล่อยมลภาวะคาร์บอนอย่างมหาศาลอีกด้วย



ภาพไฟป่าใน California

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming-effect/drought-and-flood-from-global-warming/feed/ 15
คุณกำลังฆ่าหมีขั้วโลก โดยไม่รู้ตัว https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/#comments Thu, 04 Oct 2007 12:02:21 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/ คุณอาจไม่รู้ตัวว่า ภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมาก นอกจากมนุษย์
หนึ่งในนั้นก็คือ หมีขั้วโลก สัตว์โลกที่ไม่ได้มีส่วนทำให้โลกร้อนเลย แต่กลับต้องมารับกรรมจากการกระทำของมนุษย์

หมีขั้วโลกที่หาทางกลับฝั่งไม่ได้

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบกับหมีขั้วโลกอย่างไร
ภาวะโลกร้อนเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น แผ่นน้ำแข็งละลายมากขึ้น ในฤดูร้อน
หมีขั้วโลกมีลักษณะการหากินที่ชอบออกจากฝั่งไกล แต่จากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น
ทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น และมากขึ้น หลายครั้งที่หมีขั้วโลก ไม่สามารถกลับเข้าฝั่งได้ จนต้องจมน้ำ หรือขาดอาหารตาย

หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รายงานการคาดการณ์ว่า ประชากรหมีขั้วโลกจะหายไปถึง 2 ใน 3 ภายในปี 2050

Discovery Channel รายงานว่าประชากรหมีขั้วโลกในปัจจุบันลดลง 22% จาก 17 ปีที่แล้ว

คุณสามารถ ชมคลิปวิดีโอหมีขั้วโลกที่เจอผลกระทบ จาก WWF กองทุนเพื่อสัตว์ป่าระดับโลก ได้ที่นี่

ในสารคดี Planet Earth ของ BBC หรือที่ฉายในเมืองไทยในชื่อว่า ปฐพีชีวิต ได้รายงานผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อหมีขั้วโลกเช่นกัน

ทำไม หมีขั้วโลก ถึงต้องมาเป็นเหยื่อให้กับการกระทำของมนุษย์ ?
คุณสามารถลดมลภาวะของคุณเองได้ตั้งแต่วันนี้ ร่วมกันลดภาวะโลกร้อนตั้งแต่วันนี้ เพื่อโลกที่ดีขึ้น
คุณสามารถคำนวนมลภาวะคาร์บอนที่คุณปล่อยในแต่ละปีได้ที่นี่ Whyworldhot Carbon Calculator
10 วิธีลดภาวะโลกร้อนง่ายๆ
หรือบอกต่อเพื่อนๆของคุณ เดี๋ยวนี้ เพื่อให้ทุกคนช่วยกันมีส่วนร่วม ในการลดภาวะโลกร้อน

รายงานอื่นๆ เกี่ยวกับภาวะวิกฤติของหมีขั้วโลก
Is Global Warming Killing the Polar Bears?

Global warming sees polar bears stranded on melting ice

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-killing-polar-bears/feed/ 13
ภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อไฟป่าใน Alaska https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/#comments Tue, 25 Sep 2007 14:01:18 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/ ป่าที่เคยชุ่มชื้นในอะลาสกา ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง และไฟป่า ซึ่งภาวะแห้งแล้งเป็นผลกระทบหนึ่งจากภาวะโลกร้อน
ไฟป่าใน Alaska
ภาพจาก Alaska Fire Service, AP

เนื้อข่าวจาก TIME Global Warming Photo Essay : http://www.time.com/time/photoessays/2006/global_warming/

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/global-warming-cause-alaska-wildfire/feed/ 6
WWF ฟันธงเหลือเวลาคิดแค่ 5 ปีหากจะแก้ “โลกร้อน” https://www.whyworldhot.com/global-warming/wwf-notice-5-yrs-left-to-think-solving-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/wwf-notice-5-yrs-left-to-think-solving-global-warming/#comments Thu, 17 May 2007 11:49:28 +0000 http://www.whyworldhot.com/uncategorized/wwf-notice-5-yrs-left-to-think-solving-global-warming/ เอเยนซี – กองทุนสัตว์ป่าโลกเผยรัฐบาลประเทศต่างๆ จำเป็นต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ เรื่องปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใน 5 ปี เพื่อรับมือกับความต้องการ พลังงาน ที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าในอีก 50 ปีข้างหน้า

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ระบุไว้ในรายงานว่าการถ่วงเวลาออกไปอาจจะทำให้โลกต้องเผชิญกับ ภาวะโลกร้อน ขั้นอันตรายภายในเวลาชั่วชีวิตหนึ่ง หรืออาจทำให้ต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่เศรษฐกิจโลกได้

“ปัญหาสำหรับผู้นำและรัฐบาลต่างๆทั่วโลกก็คือ จะควบคุมการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ให้อยู่ในระดับสูงจนเป็นอันตราย โดยไม่กระทบการพัฒนาประเทศและลดระดับมาตรฐานการครองชีพได้อย่างไร” เจมส์ ลีป (James Leape) ผู้อำนวยการ WWF กล่าว

“เรามีเวลาอีกน้อยนิดที่เราจะสามารถเพาะเมล็ดแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ และนั่นก็คืออีก 5 ปีข้างหน้า เราไม่สามารถปล่อยเวลาให้สูญเปล่าได้อีก” เขาเสริม

รายงานฉบับนี้ ตั้งเป้าสำหรับ อุณหภูมิ เฉลี่ยทั่วโลกภายในปี 2050 ว่าไม่ควรเพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับเพิ่มขึ้น 0.7 องศาเซลเซียสแล้ว นอกจากนั้นรายงานนี้ยังตั้งเป้าตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50%

WWF สนับสนุนรายงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) จากองค์การสหประชาชาติ ที่ได้เน้นย้ำว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบขั้นเลวร้ายที่สุดจาก ภาวะโลกร้อน ได้ด้วยการใช้เทศโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ใช้พลังงานทางเลือก และดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน

อย่างไรก็ตาม WWF ระบุว่า การตัดสินใจของฝ่ายเศรษฐกิจและการเมืองยังคง “มีแนวทางที่แตกต่างกันและเป็นอันตราย”

รายงานส่งเสริมวิธีแก้สำคัญๆ 6 ประการ เช่น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, การปลูกป่า, การเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ในระดับต่ำ อาทิ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมไปถึง การเก็บกักสะสมพลังงาน

ทาง WWF ยังต้องการให้โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานถ่านหิน เปลี่ยนมาใช้ก๊าซแทน และต้องการให้กักและแยกก๊าซคาร์บอนให้มากกว่านี้ เพื่อรับมือกับการปล่อยก๊าซดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจากการเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิล

เมื่อรวมกันแล้ว วิธีเหล่านั้นอาจตัดลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ประมาณ 60-80% ภายในปี 2050 โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องนำมาปฏิบัติให้ทันเวลา

ส่วนทางแก้ในอีกด้านหนึ่ง รายงานนี้ไม่เห็นด้วยกับการใช ้พลังงานนิวเคลียร์ แม้ว่าวิธีดังกล่าวอาจไม่มีการปล่อย ก๊าซคาร์บอน เลย โดยรายงานบอกว่าเพราะการใช้ พลังงานนิวเคลียร์ อาจมีความเสี่ยงเกิดมลพิษจาก กัมมันตภาพรังสี, ความเสี่ยงแพร่กระจายอาวุธ นิวเคลียร์ และความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปลดระวาง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้

รายงานย้ำว่า ถ้าทุกประเทศตัดสินใจแก้ปัญหาร่วมกันภายใน 5 ปี มาตรการต่างๆก็จะเริ่มมีผลดังประสงค์ได้ภายใน 1 ทศวรรษ โดยขึ้นอยู่กับโลกความจริงว่าภาคอุตสาหกรรมจะมีความสามารถปรับตัวอย่างแข็งขันเพียงใด

Credit : http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000056394

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/wwf-notice-5-yrs-left-to-think-solving-global-warming/feed/ 4
กทม. เตรียม ปิดไฟ 15 นาที 6 จุดหลัก เริ่มต้นรณรงค์ ลด โลกร้อน https://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/#comments Wed, 09 May 2007 11:39:31 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชวนชาว ก.ท.ม.ร่วมรณรงค์ลด ปัญหา ภาวะโลกร้อน ด้วยการปิดไฟวันละ 15 นาที ณ สวนลุมพินี ทั้งนี้จะมีการประเดิมปิดไฟ สถานที่ ป้าย และไฟประดับต่างๆ ใน 6 จุดหลักของกรุงเทพฯ

วันนี้(7พ.ค.)นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในวันพุธที่ 9 พฤษภาคมนี้ กรุงเทพมหานคร จะร่วมลงนามปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการลด ปัญหา ภาวะโลกร้อน ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ พร้อมจัดงาน “หยุดเพิ่ม ความร้อน ใส่กรุงเทพฯ”โดยเป็นความร่วมมือจากประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกิจกรรมปิดไฟ 15 นาที เพื่อกรุงเทพฯ ของเรา

โดยกรุงเทพมหานครจะ ปิดไฟ ในส่วนของไฟอาคาร สถานที่ ป้าย และไฟประดับต่างๆ ใน 6 จุดหลักของกรุงเทพฯ คือ ถนนเยาวราช ข้าวสาร สีลม รามคำแหง รัชดาภิเษก และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ในเวลา 19.00 – 19.15 น. เพื่อเป็นสัญญาณแห่งการเริ่มต้น การ รณรงค์ และ ปฏิบัติการ แก้ ปัญหาโลกร้อน โดยมีศูนย์กลางการจัดงานที่ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรมากถึง 12 ล้านคน ปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงกว่าร้อยละ 40 ของก๊าซทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ จึงเชื่อว่าหากประชาชนร่วมกัน ปิดไฟ เพียงวันละ 15 นาที จะช่วย ลดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ได้เป็นจำนวนมาก

ปล.ส่วนตัวชอบโครงการนี้มากๆครับ อยากให้ประเทศไทย หรือ กทม เป็นแกนนำในการรณรงค์เรื่อง ภาวะโลกร้อน มานานละ ชื่นชมครับชื่นชม

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/bangkok-turn-off-the-light/feed/ 6
ไทย พร้อมใช้ พลังงานทดแทน ลด ?โลกร้อน? ตามมติ ?ไอพีซีซี? https://www.whyworldhot.com/global-warming/thai-ready-to-help-ipcc/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/thai-ready-to-help-ipcc/#comments Sat, 05 May 2007 12:49:57 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/thai-ready-to-help-ipcc/ ภายหลัง คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้แถลงรายงานฉบับที่ 3 ณ ศูนย์การประชุม สหประชาชาติ กรุงเทพฯ เมื่อบ่ายวันที่ 4 พ.ค.นี้ โดยเสนอทางเลือกด้านพลังงานให้ประเทศภาคี 189 ประเทศใช้เป็นมาตรการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ด้วยนโยบาย พลังงานทดแทน หรือ พลังงานหมุนเวียน และลดการใช พลังงานฟอสซิล หนุนการใช ้พลังงานสะอาด

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ประเทศไทย สามารถพิจารณาใช้ทางเลือกที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ตามแนวทางของ ไอพีซีซี ดังนี้ คือ 1.ทางเลือกในการลด ก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงาน โดยการลงทุนในภาคพลังงานจะมีส่วนสำคัญต่อปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้ภายในปี 2030 ซึ่งการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานทำได้โดยการลงทุนด้าน พลังงานทดแทน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช ้พลังงานทางเลือก ที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการลด ก๊าซเรือนกระจก ในอนาคต

?การใช้เทคโนโลยีเพื่อกักเก็บ ก๊าซเรือนกระจก แต่ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาด้านเทคนิคและความเป็นไปได้ทาง เศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่น เช่น พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งมีการพูดกันว่าถือเป็นพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพในการลด ก๊าซเรือนกระจก แต่ยังมีข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคง?

นายเกษมสันต์กล่าวพร้อมเสนอทางเลือกที่ 2 ในการลด ก๊าซเรือนกระจก ในภาคคมนาคมและขนส่ง ซึ่งสามารถลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ได้โดยใช ้เชื้อเพลิงชีวภาพ ให้เพิ่มขึ้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ ระบบขนส่งมวลชน สาธารณะ ทางเลือกที่ 3 คือ ลด ก๊าซเรือนกระจก จากการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ทางเลือกที่ 4. คือลด ก๊าซเรือนกระจก ในภาคอุตสาหกรรม ด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยเพื่อลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ทางเลือกที่ 5 คือลด ก๊าซเรือนกระจก ในภาคการเกษตร

?คาดว่าภายในปี 2030 การลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ในภาคเกษตรน่าจะทำได้โดยการดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก ในดิน ซึ่ง ประเทศไทย ต้องจับตาเรื่อง การบุกรุก พื้นที่ป่า เพราะป่าสำคัญในการจะช่วยดูดซับก๊าซลงดิน? เลขาธิการ สผ.กล่าว

ทางเลือกที่ 6 ในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้นั้น นายเกษมสันต์กล่าวว่าหากลดการ ตัดไม้ทำลายป่า ลงจะช่วยให้เกิดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ที่ลดลงได้ 50% ซึ่งการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาค ป่าไม้ ทำได้โดยเพิ่มโอกาสในการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดด้าน ป่าไม้ และทางเลือกที่ 7 ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ในภาคการจัดการของเสีย ซึ่งประเทศไทยจะต้องเฝ้าระวังเรื่อง การเผาขยะ หรือ มลพิษ จากการ เผาไหม้ และการจัดการน้ำเสีย

นายเกษมสันต์ กล่าวอีกว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการนำเสนอ สถานการณ์และ ผลกระทบ จากการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อกระตุ้นให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรการและนโยบายใน การลด การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศสมาชิกจะให้ความร่วมมือด้านวิชาการแก่กัน ซึ่งนโยบายของประเทศไทยก็อยู่ในหลักเดียวกับไอพีซีซีอยู่แล้ว

ด้านนางอารีย์ วัฒนา ทุมมาเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์มาตรการ สผ. กล่าวว่าที่ประชุมมีการพูดถึงการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ว่าประเทศสหรัฐมีการปล่อยมากที่สุด 33% และประเทศพัฒนาแล้วที่ถูกจับตามองให้ลดการปลดปล่อย ซึ่งที่ประชุมได้พยายามจะนำประเทศที่มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก มากรองลงมาคือ จีน อินเดีย บราซิล เข้ามาอยู่ในกลุ่ม ประเทศพัฒนา แล้วที่จะต้องลดการปล่อยตามเป้าหมายด้วย สำหรับประเทศไทยการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก อยู่ที่ 0.6% ถือว่าน้อยมาก และประเทศไทยมีแนวทางการใช้ พลังงานหมุนเวียน และ พลังงานทดแทน ที่สอดคล้องกับนโยบายของ ไอพีซีซี

ทั้งนี้นายราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธาน ไอพีซีซีได้กล่าวถึงแนวโน้มการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก แผนระยะสั้นและกลางใน การลด ปริมาณ การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ภายในปี ค.ศ.2030 และแผนระยะยาวใน การลด การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก หลังจากนั้น รวมทั้ง นโยบาย มาตรการและกลไกในการดำเนินงานและการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อชะลอ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

พร้อมกันน ประธาน ไอพีซีซี ได้ให้ข้อมูลจากรายงานการศึกษาว่าปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ของทั้งโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษหน้า หากไม่มีการกำหนดนโยบายเพื่อชะลอ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ หรือมีนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25-90% ในปี ค.ศ.2030 เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยในปีค.ศ.2000 และหากการพึ่งพา เชื้อเพลิงฟอสซิล ยังดำเนินต่อไปหลังปี ค.ศ.2030 มีการคาดว่าการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 40-110%

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000051193

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/thai-ready-to-help-ipcc/feed/ 6
UN จัดประชุม ผู้เชี่ยวชาญ ที่ กทม. https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/#comments Sun, 29 Apr 2007 14:03:30 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/ เอเอฟพี ? บรรดา ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วันจันทร์ (30) นี้ที่ กรุงเทพฯ อันจัดขึ้นโดยหน่วยงานด้าน ความเปลี่ยนแปลง ของ บรรยากาศ ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดของ สหประชาชาติ เตรียมที่จะเสนอต่อบรรดาผู้นำของโลกว่า ช่องทางโอกาสที่จะ แก้ปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก นั้น กำลังหดแคบลงทุกทีแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำงานนี้มีอยู่แล้วพรักพร้อม และ ค่าใช้จ่าย ก็ยังอยู่ในระดับ ไม่แพง

ด้วยการผสมผสานนโยบายและเทคโนโลยีต่างๆ อย่างฉลาดหลักแหลม ค่าใช้จ่ายในการประคับประคองระดับ ไอเสีย เรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกสาร คาร์บอน อย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้คงที่อยู่ใกล้แถวๆ 75% เหนือระดับในปัจจุบัน ภายในปี 2030 นั้น จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ของโลกเพียงแค่ 0.2%

แต่ถ้าต้องการทำให้ดีกว่านั้น นั่นคือ ให้มีการปล่อยไอเสีย คาร์บอน คงที่ในระดับสูงกว่าปัจจุบันเพียงราวๆ แค่ 50% แล้ว ก็จะใช้จีดีพีโลกประมาณ 0.6%

สถานการณ์สมมุติเหล่านี้ ที่ได้จากการศึกษาคาดคำนวณของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ กำลังถูกร่างบรรจุไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง ซึ่งจะนำออกเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ในวันศุกร์ (4พ.ค.) อันเป็นวันสุดท้ายในการประชุมซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) หน่วยงานของ ยูเอ็น ซึ่งได้รับความเชื่อถือว่าเชี่ยวชาญที่สุดเรื่อง โลกร้อน

อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ายังจะมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างดุเดือด ระหว่างที่เหล่าผู้แทนของชาติสมาชิกต่างๆ ประชุมกันเป็นการภายใน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน โดยเฉพาะในส่วนบทสรุปย่อสำหรับผู้บริหารของรายงานฉบับนี้ ซึ่งจะมีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายในทั่วโลก

ประเด็นซึ่งคงเกิดการโต้เถียงกันหนัก มีอาทิ เพดานสูงสุดระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะยอมให้ปล่อยสู่ บรรยากาศ ได้, ภาษีที่จะจัดเก็บจากการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน, ตลอดจนการเอ่ยพาดพิงถึง พิธีสารเกียวโต ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นของแสลงสำหรับ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

นอกจากนั้น ยังอาจมีการทะเลาะกันในประเด็นอย่างเช่น จะเสนอแนะให้ใช้ พลังงานนิวเคลียร ์เป็นทางเลือกหนึ่ง ทดแทนการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิล จากพวก น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และ ถ่านหิน หรือไม่ ตลอดจนประเด็นเรื่อง การเก็บกัก คาร์บอน อันเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งผุดขึ้นใหม่ๆ ซึ่งเสนอว่าอาจเป็นไปได้ที่จะ แก้ปัญหา ด้วยการนำเจ้า ก๊าซเรือนกระจก ไปเก็บไว้ใต้ดินลึกๆ

รายงานที่จะออกที่ กรุงเทพฯ นี้ ถือเป็นตอนสุดท้ายของรายงานรวม 3 ตอนของ ไอพีซีซี ซึ่งมุ่งปรับปรุงเพิ่มพูนความรู้ด้าน การเปลี่ยนแปลง ของ บรรยากาศโลก ให้ทันสมัยที่สุด โดยอาศัยงานศึกษาวิจัยของ นักวิทยาศาสตร ์ในทั่วโลก 2,500 คนเป็นพื้นฐาน

ในรายงานตอนสุดท้ายนี้ จะระบุ นโยบาย, เทคโนโลยี, และมาตรการที่จะชะลอหรือกระทั่งยุติ ภาวะโลกร้อน ได้ในที่สุด

ร่างรายงานซึ่ง เอเอฟพี ได้รับมา ยังไม่ได้ถึงขั้นยื่นข้อเสนอแนะอะไร แต่บอกว่าเหลือเวลาให้สูญเปล่าไปน้อยเต็มทีแล้ว

ขณะเดียวกัน ร่างรายงานก็ชี้ว่า หนทางและเครื่องมือที่จะสู้ ปัญหา ไอเสีย นั้น เรามีกันอยู่ในมือแล้วหรือไม่ก็กำลังจะได้มาในเร็ววันนี้

ทางเลือกเหล่านี้มีอาทิ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไม่ว่าในการก่อสร้าง อุตสาหกรรม หรือการขนส่ง, การใช้กลไกทาง เศรษฐกิจ หรือการคลังเพื่อกระตุ้นส่งเสริม พลังงาน ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อาทิ ลม แสงอาทิตย์ และ ความร้อนใต้พิภพ, การให้แรงจูงใจใน ภาคป่าไม้ และ การเกษตร ซึ่งรวมแล้วเป็นตัวปล่อย ก๊าซเรือนกระจก กว่า 30% ของยอดรวมทั้งหมด

วิธีที่จะลดการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ได้มากๆ อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การกำหนด มาตรฐาน ที่เข้มงวดขึ้นสำหรับ อาคารบ้านเรือน, ยานพาหนะ ที่ใช้ เครื่องยนต์, และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี สาระสำคัญของ มาตรการ ทั้งหมด เหล่านี้ ได้แก่ การสร้าง ?ราคาคาร์บอน? ขึ้นมา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือการผ่องถ่ายค่าใช้จ่ายด้าน มลพิษไปให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคแบกรับ เพราะนั่นจะเป็นแรงจูงใจอันทรงพลังให้เกิด เทคโนโลยี ใช้ พลังงาน อย่างทรง ประสิทธิภาพ และปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ต่ำ

ร่างรายงานชี้ว่า ยิ่งราคา คาร์บอน สูง ก็ยิ่งมีศักยภาพใน การลด การปล่อยไอเสีย เป็นต้นว่า หาก ราคาคาร์บอน นี้ถูกกำหนดให้อยู่ในระดับตันละ 20 ดอลลาร์ นั่นคือ ผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ต้องเฉลี่ยรับภาระกันไปในระดับนี้แล้ว จะทำให้ลดการปล่อย ไอเสีย คาร์บอน ได้ระหว่าง 9,000 ? 18,000 ล้านตันต่อปี หรือถ้าราคาพุ่งเป็นตันละ 100 ดอลลาร์ ก็จะลด การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ได้ 16,000 ? 30,000 ล้านตันต่อปีทีเดียว

ทว่าเรื่องที่ดีสำหรับ สิ่งแวดล้อม อาจขัดแย้งกับ ภาวะเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในเมื่อ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และ ถ่านหิน ยังน่าจะเป็นแหล่ง พลังงานหลักของโลก ไปอีกหลายสิบปี ทั้งนี้ตามการศึกษาของ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ)

เหล่า นักเศรษฐศาสตร์ โต้แย้งว่า ถ้า ราคาคาร์บอน ขึ้นสูงไปและเร็วไป พวกเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพิง เชื้อเพลิงฟอสซิล ก็มีหวังพังพาบเป็นแถวๆ

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000048658

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/ipcc-global-warming-at-bangkok/feed/ 7
ระดมสมองนักวิทย์โลกถก โลกร้อน! เกษตรกรไทยเสียหายยับ https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/scientist-help-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/scientist-help-global-warming/#comments Sat, 28 Apr 2007 02:24:27 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/scientist-help-global-warming/ สหประชาชาติเตรียมรายงานฉบับที่ 3 ของไอพีซีซีออกเผยแพร่ ในเวทีประชุมเรื่อง ภาวะโลกร้อน ที่กรุงเทพฯ สัปดาห์หน้า ย้ำอุณหภูมิโลกเพิ่มแค่ 2 องศา 2,000 ล้านคนทั่วโลกต้องขาดแคลนน้ำสิ่งมีชีวิตร้อยละ 30 ต้องสูญพันธุ์

ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ภาวะโลกร้อน ปลายเดือนนี้ มีนักวิทยาศาสตร์และตัวแทนรัฐบาล 2,000 คน จาก 189 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ศูนย์ START ระบุน้ำทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยสูงขึ้น 2-8 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นผลจาก โลกร้อน

ทุกคนต่างรู้สึกได้ถึงอุณหภูมิที่ร้อนผิดปกติในปัจจุบัน และมีการพูดถึงเรื่อง ภาวะโลกร้อนกันอย่างกว้างขวาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการจัดประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ในประเทศไทย ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน-4 พฤษภาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ว่า การประชุมดังกล่าวจะมีนักวิทยาศาสตร์และผู้แทนรัฐบาลจาก 189 ประเทศทั่วโลก จำนวน 2,000 คน เข้าร่วมประชุมทางด้านวิชาการ โดยเนื้อหารายงานวิจัยจะว่าด้วยการทบทวนสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะสรุปผลการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงคงต้องขอสรุปจากรายงานฉบับนี้ก่อนว่าจะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ จึงจะบอกได้ว่าประเทศไทยควรจะมีท่าทีอย่างไร

ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และรองประธานคณะกรรมการคณะที่ 1 ของไอพีซีซี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมของกลุ่มที่ 3 เกี่ยวกับเทคนิคและเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของ สภาวะโลกร้อน โดยแต่ละประเทศอ่านรายงานสรุปให้ผู้บริหาร เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับรายงานชิ้นดังกล่าวหรือไม่ ในส่วนของประเทศไทย ทางสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทส. เป็นผู้เสนอรายงาน

“การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมปิด ซึ่งจะนำเสนอเนื้อหาด้านเทคนิคและวิชาการ เกี่ยวกับการลดก๊าซ เรือนกระจก โดยให้แต่ละประเทศอ่านรายงานสรุปให้ผู้บริหารเพื่อลงมติยอมรับ เมื่อประชุมเสร็จสิ้นแล้ว คงมีรายงานสรุปว่า บทความชิ้นใดบ้างที่ได้รับการยอมรับ” ผศ.ดร.กัณฑรีย์ กล่าว

วันเดียวกัน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวที ” สื่อไทยเท่าทัน ภาวะโลกร้อน ” ว่า ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า ระดับน้ำทะเลในทะเลอันดามัน สูงประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย สูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวตามหลักทฤษฎีเกี่ยวข้องกับ ภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม จะทำการตรวจวัดระดับน้ำทะเลทั้งสองบริเวณอีกครั้ง โดยใช้เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของพื้นโลก เพื่อศึกษาว่าแผ่นดินที่ตรวจเกิดการทรุดตัวหรือไม่ คาดว่าภายใน 1 ปีจะสามารถยืนยันความถูกต้องของระดับน้ำทะเลได้

ดร.อานนท์ กล่าวถึงการเกิดฝนลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศว่า คนเข้าใจว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์กับ ภาวะโลกร้อน หากพิจารณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้อง เพราะฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อนซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อน ที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็งตกลงมาเป็นลูกเห็บ ปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับ ภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงจะสรุปได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน เพราะช่วงนี้พายุฤดูร้อนเข้ามาภาคกลาง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่า ช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ

วันเดียวกัน นายมาร์ติน ฮิลเลอร์ เจ้าหน้าที่โครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) แถลงว่า ไอพีซีซีที่กรุงเทพฯ พร้อมกับเตรียมนำร่างรายงานฉบับที่ 3 ของไอพีซีซีออกเผยแพร่ระหว่างจัดการประชุมด้วย ซึ่งรายงานฉบับนี้จะส่งสัญญาณชัดเจนไปยังรัฐบาลทั่วโลกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ภัยโลกร้อน สามารถแก้ไขได้หากทุกฝ่ายจริงจังที่จะดำเนินการ และการดำเนินการนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หากใช้ระบบซื้อขายโควตาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบที่ใช้ในยุโรป พร้อมกับย้ำว่า โลกสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ หากหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก อย่างถ่านหิน แล้วหันมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการตัดไม้ทำลายป่า

ก่อนหน้านี้ รายงาน 2 ฉบับแรกของไอพีซีซี ระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไม่มีขีดจำกัด อาจทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643 และหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นแม้เพียง 2 องศาเซลเซียส ก็อาจส่งผลกระทบทำให้ผู้คนทั่วโลกถึง 2,000 ล้านคน ที่ต้องประสบภาวะขาดแคลนน้ำภายในปี 2593 จนอาจทำให้สิ่งมีชีวิตร้อยละ 20-30 สูญพันธุ์ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศที่ปล่อยก๊าซรายใหญ่ อย่างสหรัฐ จีน และอินเดีย ลงนามและปฏิบัติตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต ที่กำหนดขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ที่ก่อให้เกิด ภาวะเรือนกระจก หรือ ปรากฎการณ์เรือนกระจก

ทั้งนี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลของไอพีซีซี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก ซึ่งประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านชั้นบรรยากาศ นักสมุทรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำแข็ง นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมศาสตร์ นักชีววิทยา และผู้เชี่ยวชาญระดับหัวกะทิจากประเทศต่างๆ ซึ่งในการประชุมที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์หน้านี้ ไอพีซีซีจะเปิดเผยรายงานการสอบสวนการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลกชิ้นใหญ่ที่สุดของทางกลุ่ม หลังจากที่สอบสวนมานานถึง 6 ปีด้วย

บรรดาสมาชิกที่ร่วมจัดทำรายงานประเมินว่า รายงานฉบับนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางการเมืองและสังคมทั่วโลก ขณะที่ นายแอนดี เพียซ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประชาคมโลกเริ่มเห็นว่า สภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนนั้นเป็นเป็นภัยที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิต และทุกคนต้องร่วมมือแก้ปัญหานี้ด้วยกัน ซึ่งทางอังกฤษจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมการประชุมที่กรุงเทพฯ ด้วย

นายประจญ ปรัชญ์สกุล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากสภาพความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณภาคเหนือตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในหลายพื้นที่ จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อคืนวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา มีลมกระโชกแรงและมีฝนตกในพื้นที่ อ.เมือง อ.แม่ริม และ อ.เชียงดาว

นายชนะชัย เศรษฐพัฒน์ นายอำเภอเชียงดาว กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดจากลมกระโชกแรงเมื่อคืนที่ผ่านมามีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ทางอำเภอได้ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสามารถเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านได้ทันท่วงทีหากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น

อุตุนิยมวิทยาจังหวัดกาฬสินธุ์ คาดการณ์ว่า ในอีก 1 เดือนข้างหน้า จ.กาฬสินธุ์ จะเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไม่มีฝนตกในพื้นที่ อีกทั้งในเกณฑ์เฉลี่ยของสภาพอากาศ มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส ประชาชนควรเตรียมตัวรับมือกับปัญหาภัยแล้งไว้ด้วย

นายวิชัย แซ่อั้ง พนักงานเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ กล่าวว่า น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณ 1,226.16 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากความจุเต็มที่ 2,226.63 ล้าน ลบ.ม. แต่ยังคงปล่อยน้ำตามปกติวันละ 4.2 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน โดยจังหวัดขอนแก่นและชลประทานหนองหวายยังไม่มีแผนในการหยุดปล่อยน้ำแต่อย่างใด เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่เขตชลประทาน

นางกัญญา เตโซ ชาวสวนลิ้นจี่ ใน จ.นครพนม กล่าวว่า อากาศร้อนทำให้ชาวสวนต่างได้รับความเดือดร้อน เพราะผลลิ้นจี่ไม่สุกตรงตามฤดูกาล ปกติลิ้นจี่จะสุกและนำออกขายได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน แต่ปีนี้ลิ้นจี่ยังไม่สุกเต็มที่ จึงทำให้ขาดรายได้

ขณะที่กลุ่มผู้เลี้ยงโคนมบ้านโนนสวรรค์ หมู่ 8 ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร ที่ผลิตน้ำนมดิบส่งเข้าโรงนมภูพาน ต้องประสบปัญหาวัวนมที่เลี้ยงผลิตน้ำนมได้น้อยลง นายธีระ บัวทะราช เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคนม กล่าวว่า เลี้ยงวัวนม 30 ตัว ปกติวัวแต่ละตัวจะรีดน้ำนมได้วันละ 15-20 กิโลกรัม แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้วัวให้น้ำนมได้น้อยลง เหลือตัวละ 8-11 กิโลกรัมเท่านั้น

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 27 เมษายน ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำในหลายพื้นที่ของ จ.พิษณุโลก สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนราษฎรหลายจุด บริเวณหลัก กม.ที่ 41 ถนนสายพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ต.ดงประคำ อ.พรหมพิราม พายุได้พัดต้นไม้ล้มกีดขวางเส้นทางถนน 4 เลน เจ้าหน้าที่แขวงการทางพิษณุโลกจึงนำเลื่อยยนต์มาตัดกิ่งไม้ออกจากเส้นทาง

นายธนภัทร พงษ์ภมร ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สัตว์ภายในสวนสัตว์เกิดอาการเครียด ทางสวนสัตว์เชียงใหม่จึงใช้สเปรย์น้ำพ่นเพิ่มความชุ่มชื้น อีกทั้งมีการนำกระสอบชุบน้ำมาไว้ในคอกสัตว์ พร้อมทำร่มเงาเพิ่มให้สัตว์ที่ต้องอยู่กลางแจ้ง และมีการแจกจ่ายนำแข็งให้ลิงชิมแปนซีเพื่อคลายร้อนอีกด้วย

Credit : http://komchadluek.net/2007/04/28/a001_111290.php?news_id=111290

]]>
https://www.whyworldhot.com/stop-global-warming/scientist-help-global-warming/feed/ 10
Stephen Hawking warns about Global warming https://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/#comments Thu, 26 Apr 2007 13:51:28 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/ เก่าแล้วนะครับ เอามาให้ดูเฉยๆ เพราะมีนักวิทยาบางกลุ่มที่คัดค้านเรื่อง ภาวะโลกร้อน บางที่ก็อ้างว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ทรงคุณวุฒิ ผมเลยเอานักวิทยาศาสตร์ที่มี”คุณวุฒิ” จริงๆมาให้ดู

http://www.usatoday.com/tech/science/2006-06-22-hawking-warming_x.htm

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/hawking-warns-global-warming/feed/ 2
รายงานฉบับสอง “ไอพีซีซี” ระบุมนุษย์หลายพันล้านต้องเผชิญผล “ภาวะโลกร้อน” https://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/ https://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/#respond Sat, 21 Apr 2007 13:46:38 +0000 http://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/ เอเอฟพี/เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ ? “ไอพีซีซี” เปิดรายงาน โลกร้อน ฉบับที่สองระบุปัญหาภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อผู้คนนับพันล้านในทุกทวีปอย่างหนีไม่พ้น โดยผู้ที่ต้องแบกรับภาระหนักที่สุดคือบรรดาประเทศยากจน อีกทั้งยังอาจทำให้สิ่งมีชีวิตเกือบ 1 ใน 3 เสี่ยงสูญพันธุ์ถาวร แนะยืดอายุพีธีสารเกียวโตเพื่อบรรเทาปัญหา พร้อมเผยรายงานฉบับต่อไปเดือนหน้าในกรุงเทพฯ

คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ “ไอพีซีซี” (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ที่ตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แถลงเปิดเผยรายงานการคาดการณ์ฉบับสำคัญ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบแล้วจากสมาชิกกว่า 100 ประเทศ ในวันที่ 6 เม.ย. หลังจากที่ถกเถียงกันมาราธอนอย่างดุเดือดจากผู้ร่วมประชุมนาน 24 ชั่วโมงเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรายงานดังกล่าว ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

ไอพีซีซีชี้ว่า ก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลกระทบต่อระบบลมฟ้าอากาศของโลก ทำให้รูปแบบการเกิดฝนเปลี่ยนแปลง และยังทำให้พายุมีกำลังความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะจะเกิด ปัญหา ภัยแล้ง น้ำท่วม และแหล่งน้ำเหือดแห้ง
ภาพแผนที่โลก แสดงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน
ภาพแผนที่โลก แสดงบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน (The New York Times)

ราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธานไอพีซีซีแถลงว่า กลุ่มคนยากจนจะเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากที่สุด และยังจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากผลกระทบของ ภาวะโลกร้อน ฉะนั้น ปัญหานี้จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระดับโลก

ผลกระทบสำคั้ญที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวไอพีซีซี คาดการณ์ว่า สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มากถึง 30% จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ หากว่าอุณหภูมิทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 1.5-2.5 องศาเซลเซียส, ประชาชนในทวีปแอฟริการาว 75-250 ล้านคนจะต้องเผชิญกับการขาดน้ำภายในปี 2020 และไม่เกินปีเดียวกันนี้พื้นที่การเกษตรในแอฟริกาที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก ผลผลิตจะลดลงถึง 50%

ส่วนประเทศทางตอนเหนือก็จะไม่มีธารน้ำแข็งและหิมะปกคลุมอีกต่อไป ส่งผลให้หลายๆ ประเทศที่อาศัยแหล่งน้ำจากธารน้ำแข็งละลายมีปริมาณน้ำลดลง และจะไม่มีทวีปไหนสามารถรอดพ้นจากผลกระทบของ ภาวะโลกร้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิในทวีปนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม

?มีความเป็นไปได้เหลือเกินที่ทุกภูมิภาคจะต้องประสบกับปัญหาผลประโยชน์ต้องเสื่อมเสียลงไป หรือไม่ก็ต้นทุนต้องเพิ่มขึ้นมา จากการที่ระดับอุณหภูมิมีปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 2-3 องศาเมื่อเทียบกับในช่วงปี 1990? เป็นเนื้อหาตอนหนึ่งใน ?บทสรุปสำหรับผู้กำหนดนโยบาย? ในรายงานของไอพีซีซี คราวนี้

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การประชุมตลอดช่วงสัปดาห์นี้ สมาชิกของไอพีซีซีได้มีการถกเถียงกันอย่างหนักถึงเนื้อหาในร่างบทสรุปนี้เอง อีกทั้งกำหนดการเผยแพร่บทสรุปดังกล่าวยังถูกเลื่อนออกไป หลังจากที่สหรัฐฯ จีน และซาอุดีอาระเบียพากันคัดค้านการใช้ถ้อยคำ ?รุนแรง? ในบทสรุป จนถึงขั้นตัวแทนคนหนึ่งออกมากล่าวหาว่า การประชุมที่ควรเป็นการหารือของบรรดานักวิทยาศาสตร์คราวนี้ กำลังถูกการเมืองแทรกแซง

บทสรุปดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายงานฉบับเต็มซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,400 หน้า ที่ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า ผู้คนเป็นจำนวนหลายพันล้านคนจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ และคนอีกกว่าหลายร้อยล้านคนจะต้องประสบกับภาวะหิวโหย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคที่มีแต่ชาติยากจน ซึ่งมีส่วนน้อยที่สุดในการก่อมลพิษจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลอันเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

ผู้แทนที่เข้าประชุมหลายคนเผยว่า ด้วยการยืนกรานของสหรัฐฯ ร่างบทสรุปฉบับนี้จึงถูกตัดทอนย่อหน้าที่ระบุว่า อเมริกาเหนือ ?ได้รับการคาดหมายว่าจะประสบความเสียหายอย่างสาหัส ในด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่น ตลอดจนความแตกสลายแห่งระบบนิเวศอันพอเพียงในตนเอง และความแตกสลายทางสังคมและวัฒนธรรม? นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อีก จากการยืนกรานของซาอุดีอาระเบีย และจีน

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวซึ่งเห็นดีเห็นงามกับการตัดข้อความ ?รุนแรง? จากบทสรุป กล่าวแก้ต่างว่าถึงอย่างไรข้อมูลทั้งหมดก็ยังคงอยู่ในรายงานตัวหลัก และมันยังคงเป็นสารที่ทรงพลังเข้มแข็งมาก

ทว่ารายงานฉบับนี้จะช่วยชี้แนะทางด้านนโยบายแก่รัฐบาลต่างๆ ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการขยายเวลาของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ของยูเอ็นที่ตั้งขึ้นเพื่อลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศและกำลังจะหมดอายุลงในปี 2012

รายงานที่เผยแพร่ในคราวนี้ เป็นส่วนที่สองในการประเมินหลักฐานต่างๆ ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของไอพีซีซีในปีนี้ ซึ่งเป็นการประเมินครั้งแรกในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา

ในส่วนแรกของรายงานซึ่งเผยแพร่ไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น ไอพีซีซีบอกว่า อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้น 0.74 องศาเซลเซียสแล้ว ในรอบร้อยปีที่ผ่านมา และส่วนใหญ่เป็นฝีมือของมนุษย์ ส่วนรายงานฉบับที่สามที่มีเนื้อหาระบุถึงปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ที่เพิ่มขึ้น ความเข้มข้น และวิกฤติของอุณหภูมิ และตามด้วยรายงานฉบับสุดท้ายอันเป็นผลสรุปของการค้นพบและคาดการณ์ทุกอย่างจะเปิดเผยในเดือน พ.ย. เป็นการส่งท้ายปี

ทั้งนี้ คณะทำงานเพื่อพิจารณารายงานฉบับที่สามของไอพีซีซีนี้ มีกำหนดการประชุมระหว่างวันที่ 30 เม.ย. – 3 พ.ค. ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ และมีกำหนดจะเปิดเผยรายงานในวันที่ 4 พ.ค.ที่เดียวกัน

Credit : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000040515

หมายเหตุ รายงานฉบับนี้ เป็นฉบับเดียวกับใน http://www.whyworldhot.com/global-warming/un-report-on-global-warming/

]]>
https://www.whyworldhot.com/global-warming/second-ipcc-report/feed/ 0